เคยได้ยินหรือเห็นคำว่า “Cross-Chain Interoperability” กันไหม ? มันดูเหมือนป็นคำศัพท์ทางเทคนิคสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้านบล็อกเชน แต่ไม่ต้องกังวลไป วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Cross-Chain Interoperability หรือ การทำงานร่วมกันข้ามสายโซ่กัน
ลองนึกภาพว่าบล็อกเชนแต่ละเครือข่ายคือเกาะที่แยกออกจากกัน แต่ละเกาะมีสมบัติ (Assets), ผู้อยู่อาศัย (Serivces) และ กฏเกณฑ์ (Transactions) ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งมันก็คงจะดีไม่น้อยถ้าหากว่าเกาะเหล่านี้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนสมบัติ และเข้าใจกฏเกณฑ์ของกันและกันได้ ซึ่งนั้นก็คือสิ่งที่ Cross-Chain Interoperability ทำ มันเป็นเหมือนเรือวิเศษที่ช่วยให้เกาะต่างๆ สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันได้
แล้วการช่วยให้บล็อกเชนต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้มันสำคัญยังไง ? ลองนึกถึงยุคแรกของอินเตอร์เน็ตที่ทุกคนมีเกาะดิจิทัลเล็กๆ แยกกัน ในช่วงนั้นมันไม่ค่อยมีการสื่อสารระหว่างกัน ก็ทำให้อินเตอร์เน็ตยุคแรกดูเหงานิดหน่อย เช่นเดียวกับโลกบล็อกเชนในปัจจุบัน หากไม่มีการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่าย เราก็จะเหลือแต่ระบบนิเวศที่แยกออกจากกัน และไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ ซึ่งมันจะขัดขวางการไหลเวียนของข้อมูลในเครือข่ายต่างๆ ทำให้การเดินทางของผู้ใช้งานนั้นยุ่งยากขึ้นเล็กน้อย
ในโลกของ Blockchain Interoperability หนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญคือ Chainlink ซึ่งได้มีการพัฒนา Cross-Chain Interoperability Protocol (CCIP) ขึ้นมา นี้เป็นมาตรฐานแบบ open-source สำหรับการเปิดใช้งาน cross-chain communication ถ้าเกิดว่ายังไม่เข้าใจ ให้ลองนึกถึงนักแปลภาษาที่สามารถพูดคุยภาษาบล็อกเชนได้หลายร้อยภาษา ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการสร้าง cross-chain application
นอกจากนี้ยังมีโปรเจกต์อื่นๆ เช่น Wormhole และ LayerZero ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนโทเค็นและข้อมูลระหว่างเครือข่ายต่างๆ จากนั้นยังมี Hyperlane ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจสอบการสื่อสารแบบ cross-chain นอกจากนี้ยังมี Avalanche Warp Messageing (AWM), BTC Relay, Cross-Consensus Message Format (XCM) และ Axelar ซึ่งแต่ละอย่างก็มีแนวทางเฉพาะของตัวเองในการพัฒนา Cross-Chain Interoperability
และเช่นเดียวกันกับนวัตกรรมอื่นๆ เทคโนโลยี Cross-Chain Interoperability ก็มีข้อเสียเช่นกัน ด้วยความที่เครือข่ายบล็อกเชนต่างๆ มีโซลูชั่นด้านความปลอดภัย, ระบบ Consensus Algorithms และภาษาที่ใช้ในการเขียนที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อนทางเทคนิคมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดี และสร้างความท้าทายใหม่ๆ ให้กับระบบ Governance ของเครือข่ายต่างๆ
แต่ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรค แต่ Corss-Chain Interoperability คืออนาคต มันมีศักยภาพในการปฏิวัติระบบการทำงานของเครือข่ายบล็อกเชนด้วยการเปิดการใช้งานการสื่อสาร ส่งข้อมูล และถ่ายโอนมูลค่าระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกัน มันปูทางไปสู่ระบบนิเวศบล็อกเชนที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้อนาคตของ Cross-Chain Interoperability เป็นความจริง มันจะต้องมีความเสถียรและความปลอดภัยที่มากกว่านี้เสียก่อน และเมื่อถึงเวลานั้น เรือวิเศษแห่งการทำงานร่วมกับระหว่างบล็อกเชน จะสามารถแล่นได้อย่างแท้จริง