KEY TAKEAWAYS
- คุณสมบัติสำคัญ 3 ประการของบล็อกเชนคือ ความไร้ศูนย์กลาง (decentralized) ความปลอดภัย และความสามารถในการขยายเครือข่าย (scalable) แต่การจะทำให้เครือข่ายมีคุณสมบัติที่ดีทั้ง 3 ทางพร้อมกันนั้นเป็นไปไม่ได้
- Ethereum Mainnet (Layer 1) สามารถประมวลธุรกรรมได้เพียง 15 ธุรกรรมต่อวินาที เมื่อความต้องการใช้ Ethereum สูง เครือข่ายจะแออัด ซึ่งจะเพิ่มค่าธรรมเนียมและผู้ใช้งานที่จ่ายค่าธรรมเนียมน้อยกว่าคนอื่น ก็จะไม่สามารถปิดธุรกรรมได้
- Layer 2 จะแก้ปัญหาดังกล่าวโดยนำธุรกรรมออกไปประมวลผลแยกในพื้นที่ ที่เรียกว่า Layer 2 สามารถลดค่าธรรมเนียม หรือลดเวลาด้วยการประมวลผลธุรกรรมในพื้นที่นอกบล็อกเชน Layer 1
- ด้วยความเป็นสินค้าสะสมและผลิตมาในจำนวนจำกัด เมื่อเวลาผ่านไปราคาจึงมักจะสูงขึ้น ทำให้เกิดช่องให้เข้ามาเก็งกำไร แต่ทุกอย่างมาพร้อมความเสี่ยง เพราะไม่ใช่ Art Toy ทุกรุ่นจะมีราคาสูงขึ้นเสมอไป
Layer 2 คืออะไร
อย่างที่เรารู้กันดีว่าคุณสมบัติสำคัญ 3 ประการของบล็อกเชนคือ ความไร้ศูนย์กลาง (decentralized) ความปลอดภัย และความสามารถในการขยายเครือข่าย (scalable) แต่การจะทำให้เครือข่ายมีคุณสมบัติที่ดีทั้ง 3 ทางพร้อมกันนั้นเป็นไปไม่ได้สถานการณ์นี้เรียกว่า ” trilemma” ฉะนั้นบล็อกเชนพื้นฐานสามารถบรรลุคุณสมบัติด้านบนได้เพียง 2 ใน 3 เท่านั้น หากต้องการบล็อกเชนที่ปลอดภัยและ ไร้ศูนย์กลาง (decentralized) คุณจะต้องสละความสามารถในการขยายเครือข่ายเพื่อเติบโตต่อไป
ปัจจุบัน Ethereum ประมวลผลธุรกรรมกว่า 1 ล้านครั้งต่อวัน และหากความต้องการใช้ Ethereum มีสูง ก็จะส่งผลให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมสูง สิ่งนี้เองคือเหตุผลที่ Layer 2 ถูกสร้างขึ้น
เป้าหมายหลักของ Layer 2 คือการเพิ่มจำนวนการทำธุรกรรมต่อวินาทีโดยไม่สูญเสียความความไร้ศูนย์กลาง (decentralized) หรือความปลอดภัย
Ethereum Mainnet (Layer 1) สามารถประมวลธุรกรรมได้เพียง 15 ธุรกรรมต่อวินาที เมื่อความต้องการใช้ Ethereum สูง เครือข่ายจะแออัด ซึ่งจะเพิ่มค่าธรรมเนียมและผู้ใช้งานที่จ่ายค่าธรรมเนียมน้อยกว่าคนอื่น ก็จะไม่สามารถปิดธุรกรรมได้
Layer 2 จะเป็นทางออกของปัญหานี้ โดยนำธุรกรรมออกไปประมวลผลแยกในพื้นที่ ที่เรียกว่า Layer 2 สามารถลดค่าธรรมเนียม หรือลดเวลาด้วยการประมวลผลธุรกรรมในพื้นที่นอกบล็อกเชน Layer 1
ท้ายที่สุด เราคงสามารถสรุปได้ว่า Layer 2 (L2) คือการแก้ปัญหาการขยายเครือข่าย (scaling solution) เพื่อการเติบโตบนเครือข่าย Ethereum ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลธุรกรรมและลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม โดยไม่สูญเสียความปลอดภัยและความไร้ศูนย์กลาง (decentralized) ของ Ethereum Layer 1 (L1) ซึ่งเป็นเครือข่ายบล็อกเชนหลักของ Ethereum ที่มีความแออัดและมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมสูงในบางกรณี
ดังนั้น Layer 2 ถูกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าและค่าธรรมเนียมสูงใน Ethereum Layer 1 โดยเน้นที่ความปลอดภัยและการขยายเครือข่าย (scalability)
ประโยชน์ของ Layer 2
💸
ค่าธรรมเนียมต่ำกว่า
ด้วยการทำธุรกรรมในพื้นที่ของ Layer 2หลายตัว แล้วรวมกัน ก่อนจะนำธุรกรรมนั้นเข้าเป็นธุรกรรม Layer 1 ธุรกรรมเดียว จะทำให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมลดลงอย่างมาก และช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง Ethereum ได้มากขึ้น
🔐
ความปลอดภัย
บล็อกเชน Layer 2 ยังถือเป็นการทำธุรกรรมบน Ethereum Mainnet ช่วยให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์จากความปลอดภัยบนเครือข่าย Ethereum
🛠️
เพิ่มโอกาสการใช้งาน
เมื่อมีพื้นที่ให้ทำธุรกรรมมากขึ้น ก็จะมีการทำธุรกรรมต่อวินาทีมากขึ้น ค่าธรรมเนียมต่ำลง รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ โปรเจกต์ต่าง ๆ จะขยายไปสู่แอปพลิเคชันต่าง ๆ พร้อมกับประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีขึ้น
Layer 2 ทำงานอย่างไร
Layer 2 มีหลายประเภท แต่ละตัวมีข้อดีและรูปแบบความปลอดภัยของตัวเอง Layer 2 ช่วยลดภาระในการทำธุรกรรมจาก Layer 1 ซึ่งทำให้มีความแออัดน้อยลง และสามารถขยายเครือข่ายได้มากขึ้น
Rollup
Rollups bundle (หรือ ‘roll up’) รวมธุรกรรมหลายรายให้กลายเป็นธุรกรรมเดียวบน Layer 1 สิ่งนี้จะกระจายค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบน Layer 1 ให้กับทุกคนที่เข้าร่วมใน rollup ซึ่งส่งผลให้ค่าธรรมเนียมของแต่ละคนถูกลง
การทำธุรกรรม rollup จะเกิดขึ้นนอก Layer 1 แต่จะส่งข้อมูลการทำธุรกรรมไปบน Layer 1 ทำให้ได้รับความปลอดภัยแบบเดียวกับ Ethereum วิธี rollup มี 2 วิธี คือ optimistic และ zero-knowledge ซึ่งข้อแตกต่างหลักคือวิธีที่ข้อมูลการทำธุรกรรมถูกส่งไปยัง Layer 1
Reference: Layer 2