หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่า เคยมีอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ราคาของดอกทิวลิป จะแพงกว่าบ้านหนึ่งหลังเสียอีก และนี้คือเรื่องราวของ Tulip Manin ที่เกิดขึ้นเมื่อ 400 กว่าปีก่อน
ย้อนกลับไปที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ในช่วงปี 1600 ซึ่งในตอนนั้นเขาเรียกกันว่า Dutch Golden Age เนื่องจากในช่วงเวลานั้น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงที่สุดในโลก นักค้าขายข้ามชาติเจริญรุ่งเรืองสุดขีด และด้วยความที่ประชากรรวยกันมาก ทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยเป็นที่นิยม
ดอกทิวลิปกลายเป็นดอกไม้ที่ผู้คนต่างต้องการ เนื่องจากมีสีและลวดลายที่แปลกตา และมันได้กลายเป็นหนึ่งในสินค้าฟุ่มเฟือยที่ขายดีแบบสุดๆ
ราคาของดอกทิวลิปพุ่งแซงรายได้ต่อเดือนของช่างฝีมือที่ชำนาญงาน และในช่วงจุดสูงสุด มันมีราคาแพงยิ่งกว่าบ้านหนึงหลังเสียอีก
แต่ด้วยความที่ราคามันแพงแบบสุดกู่ ทำให้ผู้คนเริ่มหันมาปลูกดอกทิวลิปกันมากขึ้น จนทำให้จำนวนดอกทิวลิปในตลาดมีจำนวนมากเกินไป และในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1637 ตลาดของดอกทิวลิปก็แตกจนได้
แต่จากบันทึกในประวัติศาสตร์ ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ดอกทิวลิปได้ส่งผลให้เกิดการล้มละลายทางการเงินจริงหรือไม่ เนื่องจากข้อมูลในช่วงนั้นหาได้ยาก แต่เป็นที่แน่นอนแหละว่า ฟองสบู่ดอกทิวลิป ได้ทำให้นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในสัญญาดอกทิวลิปเสียหายอย่างมาก
แล้วเรื่องนี้มันมันเกี่ยวอะไรกับ Bitcoin และคริปโต ?
หลายคนมักจะถือว่า Tulip Mania เป็นตัวอย่างของฟองสบู่ที่ระเบิดขึ้น เหตุการณ์ที่ผู้คนต่างแห่กันไปลงทุนในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนมูลค่าของมันสูงเกินความเป็นจริงไปมาก และมักจะนำเหตุการณ์นั้นมากเทียบกับ Bitcoin
แต่จะเอามาเทียบกันมันก็ไม่ถูกนัก เพราะดอกทิวลิปและ Bitcoin ไม่เหมือนกัน ทั้งรูปร่าง วิธีการได้มา วิธีการใช้งาน รวมไปถึงสภาวะตลาดในอดีตและปัจจุบัน
หนึ่งในความแตกต่างระหว่างดอกทิวลิปกับ Bitcoin คือ ดอกทิวลิปนั้นมีอายุขัยที่จำกัด และเป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ว่า ดอกไม้ที่ปลูกมานั้นจะมีรูปร่างหน้าต่างเป็นอย่างไร อย่างสมมุติเราลงทุนซื้อดอกทิวลิปสีหายากมาปลูก ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อต้นที่เราปลูกออกดอกมาแล้ว จะได้สีหายากเหมือนกัน อีกทั้งยังมีจำนวนที่ไม่จำกัด ใครจะมาปลูกดอกทิวลิปก็ได้
แต่ Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัล ที่สามารถส่งต่อหากันได้ทั่วโลกผ่านระบบ Peer-to-Peer และมีการรักษาความปลอดภัยด้วยเทคนิค Cryptographic ทำให้การที่จะปลอมแปลง Bitcoin มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อีกทั้งยังไม่สามารถทำการคัดลอกหรือทำลายได้ และมีจำนวนจำกัดที่ 21,000,000 BTC
โอเค มันก็เป็นเรื่องปกติแหละที่จะมองว่า Bitcoin มีความเสี่ยงทางด้านการลงทุน แต่ถ้าดูแค่เนื้อหาความปลอดภัย มันก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเก็บเงินเป็น Bitcoin รักษามูลค่าได้มากกว่าดอกทิวลิป
ในปี 2006 Earl A. Thompson นักเศรษศาสตร์ได้เผยแพร่บทความชื่อ “Tulipmania : Fact or Artifact” ซึ่งอธิบายว่าเหตุการณ์ Tulip Mania ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับความตื่นเต้นของตลาดที่มีต่อสิ่งใหม่ๆ แต่เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลในกฏหมายเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทำให้ Tulip Mania ไม่เข้าข่ายที่จะเป็นตัวอย่างของเหตุการณ์ที่เป็นฟองสบู
และในปี 2007 Anne Goldgar ได้เผยแพร่หนังสือชื่อ “Tulipmanin : Money, Honor and Knowledge in the Dutch Golden Age” ซึ่งเธอได้ระบุว่า เรื่องเล่าเกี่ยวกับ Tulip Mania เต็มไปด้วยการเสริมแต่งเรื่องราวเกินจริง และเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้สร้างผลกระทบอะไรมากมายขนาดนั้น เพราะมีคนเข้าไปลงทุนในตลาดดอกทิวลิปน้อย
จริงๆ ไม่ว่าเหตุการณ์ Tulip Mania จะมีเรื่องราวเป็นอย่างไร หรือจะเชื่อเรื่องดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม ถ้าหาว่าเรามีทักษะการคิดวิเคราะห์เศรษฐกิจ มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มากเพียงพอ การลงทุนใน Bitcoin หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่่นๆ ก็สามารถเป็นการลงทุนที่มีประโยชน์และประสิทธิภาพได้ทั้งนั้น