อะไรทำให้โปรเจกต์คริปโตบางตัวเป็นที่นิยม ในขณะที่บางตัวไม่ ? อาจจะบอกได้ว่าเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมักจะเป็นผู้ชนะ แต่ความจริงนั้นซับซ้อนกว่ากันเล็กน้อย ในบางครั้ง โปรเจกต์ที่มีความกว่าพร้อมของเทคโนโลยีน้อยกว่า กลับกลายเป็นผู้ชนะ เพราะว่าเปิดให้บริการในช่วงเวลาที่เหมาะสม และนี้คือความมหัศจรรย์ของ Network Effect
สรุปแล้ว Network Effect คืออะไร ?
นึกภาพของสินค้าหรือบริการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีผู้ใช้จำนวนมากขึ้น นั้นแหละคือ Network Effect ผู้ใช้ใหม่ทุกคนเข้าร่วมเพื่อที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับเครือข่าย กระตุ้นให้มีผู้ใช้หน้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ลองนึกถึงตอนที่โทรศัพท์เป็นของใหม่สำหรับเรา เมื่อก่อนมีคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะได้ใช้มัน หลังจากนั้น ผู้คนจำนวนมากก็สามารถเข้าถึงโทรศัพท์ได้แล้ว ทำให้เครือข่ายทั้งหมดของมันมีค่ามากขึ้น การมีโทรศัพท์มีประโยชน์เรื่อยๆ เมื่อมีคนใช้มากขึ้น ดังนั้น เครือข่ายของผู้ใช้งานโทรศัพท์จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว และนี้คือสิ่งที่เราเรียกว่าวงจรผลตอบลัพธ์เชิงบวก (Positive Feedback Loop)
Network Effect ประเภทต่างๆ
Network Effect มีสองประเภทหลักๆ คือ Direct Network Effect และ Indirect Network Effect
Direct Network Effect : คือสิ่งที่เราพึ่งพูดถึงไปเกี่ยวกับโทรศัพท์ คือการที่ยิ่งมีคนใช้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีค่าสำหรับทุกคนมากขึ้นเท่านั้น
Indirect Network Effect : สิ่งนี้จะค่อนข้างซับซ้อนเล็กน้อย สิ่งเหล้านี้เป็นผลประโยชน์พิเศษที่มาจากการมี Network Effect ตั้งแต่แรก ยกตัวอย่างเช่นคริปโต โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นแบบ open-source ซึ่งหมายความว่าทุกคนสามารถเขาดูและปรับปรุงโค้ดได้ และเมื่อคริปโตเคอร์เรนซีได้รับความนิยม มันก็จะดึงดูบรรดา Developer เก่งๆ เข้ามาทำให้มันดียิ่งขึ้น สิ่งนี้จะเพิ่มคุณค่าให้กับเครือข่าย และดึงดูดผู้ใช้งาน ทำให้เครือข่ายเติบโตขึ้น และดึงดูดนักพัฒนามากขึ้น เหมือนกับก้อนหิมะที่กลิ้งลงจากเนิน มันจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ
ตัวอย่างของ Network Effect ในโลกจริง
เราสามารถเห็นตัวอย่างของ Network Effect ได้ในชีวิตประจำวัน โซเชียลมีเดียเป็นตัวอย่างที่ดี ผู้คนมักจะใช้งานแพลตฟอร์มที่มีเพื่อนใช้งานอยู่ ทำให้แพลตฟอร์มเหล่านั้นน่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกสำหรับผู้ใช้ และนี้คือสาเหตุที่ทำให้แพลตฟอร์มบางแพลตฟอร์มมีความโดดเด่นจนยากที่แพลตฟอร์มอื่นจะตามทัน
แอปพลิเคชั่นเรียกรถเช่น Uber และ Lyft ตลาดขายของออนไลน์เล่น Amazon, Shopee และ Lazada หรือจะบริษัทด้านเทคโนโลยีเช่น Google, Microsoft และ Apple ก็เป็นตัวอย่างที่ดีเช่นกัน
Network Effect กับ Cryptocurrencies
Network Effect มีบทบาทสำคัญในโลกของสกุลเงินดิจิทัล ลองนึกถึง Bitcoin สกุลเงินดิจิทัลตัวแรกและได้รับความนิยมมากที่สุด มีความปลอดภัยและมีสภาพคล่องสูง หมายความว่าเราสามารถทำการซื้อขายได้ง่าย สิ่งนี้ทำให้น่าสนใจสำหรับนักขุด สมมุติว่ามีสกุลเงินดิจิทัลใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นสำหรับนักขุด และมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า Bitcoin แต่นักขุดอาจจะไม่ไปใช้สกุลเงินดิจิทัลนั้น และขุด Bitcoin ต่อไปก็ได้ เพราะพวกเขารู้ว่า Bitcoin สามารถขายเพื่อรับผลตอบแทนได้ง่ายกว่า และนี้คือตัวอย่างของ Network Effect
Network Effect ยังมีความสำคัญสำหรับ Decentralized Finance (DeFi) อีกด้วย หากผลิตภัณฑ์ไหนมีฐานผู้ใช้จำนวนมาก อาจเป็นเรื่องยากที่คู่แข่งจะตามได้ทัน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรม DeFi ยังเป็นของใหม่อยู่ และยังไม่แน่ชัดว่าโปรเจกต์ไหนจะประสบความสำเร็จสูงสุด
ส่วนข้อเสียของ Network Effect คือ ไม่ใช่ว่ามันจะเป็นไปได้เชิงบวกเสมอไป บางครั้ง การเพิ่มขึ้นของผู้ใช้อาจทำให้เครือข่ายมีคุณค่าน้อยลง สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้ใหม่ทำให้เครือข่ายแออัดและมีประสิทธิภาพน้อยลง
ตัวอย่างเช่น Ethereum ใช้ระบบประมูลเพื่อกำหนดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม เมื่อมีผู้ใช้เครือข่ายมากขึ้น ผู้ใช้งานก็เริ่มเสนอค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ธุรกรรมของพวกเขาได้รับการยืนยันก่อน แต่เมื่อค่าธรรมเนียมสูงเกินไป ผู้ใช้งานบางรายก็จะเลิกใช้เครือข่ายเพราะมันไม่คุ้ม นี้คือผลกระทบด้านลบของเครือข่าย อย่างไรก็ตามนักพัฒนาของ Ethereum กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหานี้
Network Effect นั้นทรงพลังอย่างมากกับสกุลเงินดิจิทัลและส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจรเา มันเกิดขึ้นเมื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการ มีค่ามากขึ้น มีผู้ใช้งานมากขึ้น ซึ่งเมื่อเข้าใจถึงวิธีการสร้างและจัดการ Network Effect นักพัฒนาสามารถช่วยให้โปรเจกต์ของพวกเขาเติบโตและประสบความสำเร็จได้