สำหรับเหรียญ Venom ถ้าใครเป็นสายล่า Airdrops คงจะเคยเห็นผ่านตามาบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าตัว Venom เองค่อนข้างอยู่ใน Early Stage และที่สำคัญเลยคือมีการได้รับเงินระดมทุนไปเป็นจำนวนมากจาก VC ต่างๆ
ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จักกับ @VenomFoundation, หลักการทำงาน, Tokenomics และ การล่า Airdrops
เกี่ยวกับ Venom
Venom Base on asynchronous architecture ใช้ Dynamic Sharding โดยที่ Transactions จะทำงานแยกกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่ Network ทำงานอย่างหนัก Validators ก็จะทำงานกันแบบคู่ขนานในการทำธุรกรรมซึ่งเรียกว่า Split Event
ข้อดีของการที่ Base on asynchronous คือ
- สามารถ Scalability ได้
- ทำ Transactions ได้อย่างรวดเร็ว
- ค่า Gas ที่ค่อนข้างถูก
- และแน่นอนว่าเป็นการใช้ Proof of Stake (PoS)
Venom Blockchain ประกอบไปด้วย
- Masterchains ที่เป็น Layer 0 ที่จะคอยตรวจสอบความถูกต้องของเหล่า Validators
- Workchains เป็น Layer 1 ที่จะมีฟังก์ชันการทำงานต่างๆรวมถึงโครงสร้าง และรับผลประโยชน์ในด้านความปลอดภัยจากฝั่ง Masterchains
- Shardchains ทำงานคล้ายกับ Workchains แต่จะจำกัดความรับผิดชอบแค่ในส่วนที่เป็น Smart Contracts
ในส่วน Tokenomics ของ Venom นั้น $Venom จะเป็นเหรียญ Native ของ Blockchains โดยมีหน้าที่ดังนี้
- ใช้เป็นค่า Gas
- เอาไว้ใช้ในการ Delegate Staking
- เป็น Incentive ให้กับเหล่า Validators
- Governance Token
- ในด้าน Inflation ของเหรียญอยูที่ประมาณ 1% ต่อปี
เรามาดูฝั่ง Tokenomics กันบ้าง
Venom ทั้งหมดจะมีอยู่ที่ 7,200 ล้านเหรียญ 22% จะเป็นของ Community และอีก 28% จะส่วนของ Ecosystem ซึ่งในส่วน 22% นี้มีการบอกเอาไว้ว่าจะถูกแบ่งปันให้กับ Community ที่มีส่วนร่วมกับ Chains ซึ่งมีการเก็งกันว่าจะเป็นส่วนที่แจก Airdrops อย่างไรก็ตามเป็นเพียงแค่การคาดการณ์เท่านั้น
Reference: Twitter