“Subprime Mortage Crisis” หรือที่เรียกกันว่า “วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์” คือเหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว โดยถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ใหญ่ในรอบ 70 ปีที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก
หลายคนอาจจะสงสัย ในตอนนั้นมันเกิดอะไรขึ้น แล้วตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ที่สำคัญคือ เราจะป้องกันวิกฤตเช่นนี้ในอนาคตได้อย่างไร
เกิดอะไรขึ้นในช่วงปี 2008 ?
Subprime Mortage Crisis ที่เกิดขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นเหตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ The Great Depression หรือสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่เมื่อช่วงปี 1929-1939 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก นำไปสู่ราคาบ้านที่ตกต่ำลง และจำนวนการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น
แค่เฉพาะในสหรัฐฯ ผู้คนกว่า 8 ล้านคนตกงานทันที ภาคธุรกิจกว่า 2.5 ล้านบริษัทเผชิญกับความท้าทายที่หนักหนาสุดๆ และบ้านจำนวนกว่า 4 ล้านหลังคาเรือน ถูกธนาคารยืดเรียบภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี
ผู้คนทั่วทุกหัวระแหงต่างเผชิญความยากลำบากในการใช้ชีวิต แค่จะหาอาหารให้เพียงพอยังเหนื่อย และช่องว่างระหว่างรายได้ของคนรวยกับคนจนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ หมดศรัทธาในระบบเศรษฐกิจ
ถึงแม้ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์จะจบลงอย่างเป็นทางการในปี 2009 แต่ผู้คนจำนวนมากมายยังคงต้องดิ้นรนกันต่ออีกหลายปีให้หลัง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นจุดกำเนิดของเรื่อง ยังคงมีอัตราว่างงานเกินกว่า 10% และต้องใช้เวลากว่า 7 ปี กว่าจะกลับเข้าไปสู่ระดับก่อนที่จะเกิดวิกฤต
สาเหตุของ Subprime Mortage Crisis ?
มีหลายปัจจัยที่เร่งให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะการจำนอง ซึ่งนำไปสู่การนำเงินช่วยเหลือจำนวนมากจากผู้ที่เสียภาษี
จริงๆ แล้วสาเหตุของการเกิด Subprime Mortage Crisis นั้นค่อนข้างจะซับซ้อน แต่จุดเริ่มต้นทั้งหมดมาจากตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐอเมริการ ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เปิดให้เห็นแผลเหวอะของระบบการเงิน และทุกอย่างมันก็ระเบิดขึ้น เมื่อ Lehman Brothers บริษัททางการเงินยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ ประกาศล้มละลาย ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของอเมริกาและยุโรปอย่างมหาศาล ซึ่งในจุดนี้ทำให้ทุกคนได้รับรู้ว่า ธนาคารก็มีจุดอ่อนในตัวมันเอง
(แนะนำหนังเรื่อง “The Big Short” อธิบายเหตุการณ์ทั้งหมดในปี 2008 ได้ดีมาก)
แล้วมันเกี่ยวกับปัจจุบันยังไง ?
15 ปีผ่านมาแล้วสำหรับวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ แต่เรายังคงรู้สึกถึงผลกระทบจากมันได้อยู่ ความเร็วในการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบันช้าลงเมื่อเทียบกับในอดีต มีการปล่อยสินเชื่อความเสี่ยงสูงอีกครั้ง ถึงแม้ว่าการผิดนัดชำระหนี้ของสินเชื่อเหล่านี้อยู่ในระดับต่ำ
แต่ถึงแม้ว่าจะต่ำ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ไม่เชื่อก็ลองไปถาม Lehman Brothers ดู
ถึงแม้ภาครัฐจะบอกว่า ระบบการเงินโลกมีการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ปี 2008 และมาตรการด้านความปลอดภัยก็ดีขึ้นมาก หลายๆ คนก็เชื่อว่า ระบบการเงินโลกแข็งแกร่งกว่าเมื่อก่อนมาก
แต่ถ้าถามว่า วิกฤตแบบนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้อีกไหม ? ก็ตอบได้ง่ายๆ เลยว่าใช่
ที่สำคัญ วิกฤตการเงินในปี 2008 ได้สอนว่า การตัดสินใจเชิงนโยบายมีความสำคัญอย่างมาก ทั้งนโยบายจากรัฐบาล หรือจากธนาคารกลาง แต่ก็เหมือนพวกเราไม่ค่อยจะเรียนรู้จากในอดีตสักเท่าไหร่ เพราะ กับวิกฤตธนาคารในสหรัฐฯ ที่ประกาศล้มละลายกันเป็นทอดๆ ก็เป็นผลพวงจากนโยบายของธนาคารกลางที่เข้มงวด
นอกจากปี 2008 จะเป็นปีที่เกิด Subprime Mortage Crisis แล้ว ยังเป็นปีที่ Bitcoin สกุลเงินดิจิทัลตัวแรกของโลกได้ถือกำเนิดขึ้นอีกด้วย ไม่แน่ว่า Satoshi Nakamoto จะสร้าง Bitcoin ขึ้นมา เพื่อเป็นหลักฐานถึงความเปราะบางและการล่มสลายของระบบการเงินแบบ Centralized ก็เป็นได้
กว่า 15 ปีนับตั้งแต่วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ ก็เป็นที่ชัดเจนว่าระบบธนาคารทั่วโลกมีความเสี่ยงมากเพียงใด ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่คริปโตเคอร์เรนซีถูกสร้างขึ้นมา
ถึงแม้ว่าสกุลเงินดิจิทัลยังคงต้องใช้เวลาอีกนานในการพิสูจน์ตัวเอง แต่พวกมันก็ได้เสนอทางเลือกที่น่าสนใจแทนที่ระบบการเงินแบบดั้งเดิม ระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่นี้สามารถสร้างความเป็นอิสระทางการเงิน และอาจสร้างสังคมที่ดีขึ้นในอนาคต
Reference : Binance