คริปโตเคอร์เรนซีเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความเคลื่อนไหวและเติบโตมากที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ยังมีคนเข้าใจน้อยอยู่เมื่อเทียบกับบริการทางการเงินแบบดั้งเดิม รวมถึงราคาของมันผันผวนมาก บางครั้งนักลงทุนจึงยังไม่เชื่อมั่นและมีความระมัดระวังมากเมื่อต้องซื้อคริปโต แต่ทั้งนี้ตลาดคริปโตก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการนำกลยุทธ์ต่างๆ จากการเงินแบบดั้งเดิมมาประยุกต์ใช้ด้วย
หนึ่งในกลยุทธ์ที่นำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรภาพด้านราคา และปรับแต่ง demand-supply ให้เหมาะสมคือแนวทางการซื้อคืนและการเบิร์นเหรียญ แนวคิดนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่ เช่น ในระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ บริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ก็ใช้กลยุทธ์นี้ในการซื้อหุ้นคืนเพื่อลด supply ของหุ้น เจตนาคือเพื่อเพิ่มมูลค่าของหุ้นและป้องกันไม่ให้คู่แข่งเข้ามาซื้อหุ้นเพื่อจุดประสงค์ที่ไม่ดี
ในบทความนี้ เราจะมาพิจารณาการเผาเหรียญและการซื้อคืนอย่างละเอียด
การเบิร์นเหรียญ / เบิร์นโทเค็นคืออะไร
กระบวนการนี้เป็นการลบโทเค็นบางส่วนออกจากโปรเจกต์อย่างถาวร โดยอาจโอนไปยังกระเป๋าคริปโตที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ โทเค็นนั้นก็จะไม่ถูกนำมาหมุนเวียนใช้อีก ถือว่าถูกลบหายไปแล้วอย่างถาวร จุดประสงค์ของการเบิร์นก็คือเพื่อลด supply ซึ่งก็จะทำให้โทเค็นมีน้อยมากขึ้นและมูลค่าเพิ่มขึ้น
หนึ่งในเหตุผลหลักที่นักพัฒนาเห็นด้วยกับการเผาโทเค็นคือเพื่อป้องกันไม่ให้เหล่าวาฬถือครองเหรียญคนเดียวมากเกินไป แต่ทั้งนี้บางทีการเผาเหรียญก็เป็นการหลอกลวงเช่นกัน บางทีผู้พัฒนาก็ทำทีเป็นโอนโทเค็นไปยังกระเป๋าที่เข้าถึงไม่ได้แล้ว แต่จริงๆ เป็นการโอนเข้ากระเป๋าตัวเอง ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมควร DYOR (Do Your Own Research: ทำวิจัยด้วยตัวเอง) ก่อนตัดสินใจลงทุนในโปรเจกต์ใดๆ
ประวัติอย่างย่อในการเบิร์นเหรียญหรือโทเค็น
ในปี 2017 – 2018 โปรเจกต์คริปโตอย่าง Binance Coin (BNB), Bitcoin Cash (BCH), และ Stellar (XLM) ตัดสินใจที่จะเบิร์นโทเค็นของพวกเขาเพื่อลด supply และเพิ่มราคา หลังจากนั้นกลยุทธ์นี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โปรเจกต์คริปโตหลายโปรเจกต์เริ่มเผาโทเค็นด้วยจุดประสงค์เดียวกันคือการเพิ่มราคาให้โทเค็นในอนาคต
Binance ใช้ฟังก์ชั่น Auto-Burn เพื่อควบคุมปริมาณ BNB ให้เหลือเพียง 50% ของ supply เดิม คือให้เหลือเพียง 100 ล้าน BNB หลังจากนั้นก็จะหยุดการเบิร์นทั้งหมด กลยุทธ์นี้ทำเพื่อให้แน่ใจว่าราคา BNB จะไม่ตกลงอย่างรุนแรงเกินไปและยังคงรักษามูลค่าไว้ได้
เหรียญมีมอย่าง Shiba Inu และโปรเจกต์อื่นๆ อย่าง Ethereum, Terra Classic และอื่นๆ ก็ใช้กลยุทธ์การเบิร์นเหรียญเช่นกัน วัตถุประสงค์คือเพื่อปรับสมดุล demand-supply และเพิ่มเสถียรภสพให้กับราคาของโทเค็น
การซื้อคืนเหรียญคืออะไร?
การซื้อคืนไม่ใช่กลยุทธ์ที่เริ่มต้นในอุตสาหกรรมคริปโต แต่มันถูกใช้ในบริการทางการเงินแบบดั้งเดิมมานานแล้ว การซื้อคืนก็คือการที่บริษัทหรือโปรเจกต์ใช้เงินของตัวเองซื้อโทเค็นจากผู้ถือคืนในราคาตลาด โทเค็นเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในวอลเล็ทของโปรเจ็กต์ จะยังไม่ถูกทำลายหรือปล่อยเข้ามาหมุนเวียนในตลาดในทันที
แนวทางการซื้อคืนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโปรเจกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโปรเจกต์นั้นต้องการกระตุ้นราคาตลาด
การซื้อคืนและการเผาโทเค็นทำงานอย่างไร?
การเผาเหรียญค่อนข้างตรงไปตรงมา คือการลด supply หมุนเวียนในตลาด ตามหลักการก็คือโอนโทเค็นบางส่วนไปยังกระเป๋าที่ไม่สามารถกู้คืนได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายวิธีเช่น บางโปรเจกต์จะเสนอขายโทเค็นตอนแบบ ICO ขายได้เท่าไหร่ก็จะนำมาหมุนเวียนใช้เพียงเท่านั้น ไม่มีการสร้างเพิ่ม ส่วนที่สร้างมาแล้วแต่ขายไม่ได้ก็จะเผาทิ้ง ดังนั้นการมีจำนวนจำกัดจึงทำให้เกิดความต้องการสูงสำหรับโทเค็นนั้นๆ
โปรเจกต์อื่นๆ อาจกำหนดระยะเวลาในการเผาเหรียญ อย่างเช่น BNB ซึ่งวางระยะเวลาการเผาเป็นรายไตรมาส โดยมีเป้าหมายคือเมื่อโทเค็นเหลือ 100 ล้าน BNB ก็จะหยุดการเผา ส่วนโปรเจกต์อื่นอาจจะค่อยๆ ดำเนินเมื่อเกิดธุรกรรมบางอย่างขึ้น เช่น Tether (USDT) เมื่อมีการฝากเงินเข้าก็จะเผาเหรียญในปริมาณเท่ากัน
ไม่สำคัญว่าจะใช้วิธีเผาเหรียญแบบใด เป้าหมายหลักคือเพื่อลดปริมาณเหรียญเท่านั้น
ส่วนการซื้อคืนก็คือซื้อโทเค็นคืนจากตลาด จากนั้นจะฝากไว้ในกระเป๋าที่โปรเจกต์กำพหนด ไม่ได้เผาหรือโอนกลับไปยังตลาดในทันที
ข้อดีของการซื้อคืนและการเผาโทเค็น
- บางครั้งเมื่อปริมาณโทเค็นลดลง ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น
- เมื่อโปรเจกต์เผาโทเค็นที่ขายไม่ออกตอน ICO มันจะช่วยให้นักลงทุนวางใจโปรเจกต์เพราะมันแสดงให้เห็นว่าผู้สร้างโปรเจกต์มีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของโปรเจกต์
- การซื้อคืนมักเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อเพิ่มสภาพคล่องและลดความผันผวนของราคา กฏของ demand-supply แสดงให้เห็นว่า supply ที่น้อยลงมีแนวโน้มที่จะทำให้ราคาเสถียรภาพในระยะยาว ดังนั้นหากโปรเจกต์มี supply เยอะมาก ก็จะลดความสนใจของนักลงทุนลง
- การซื้อคืนส่งเสริมการเติบโตในระยะยาว เนื่องจากเป็นการแสดงให้เห็นว่าโปรเจกต์มีความมุ่งมั่นให้นักลงทุน HODL
การซื้อคืนและเผาโทเค็นดีต่อนักลงทุนหรือไม่
มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้โปรเจกต์ซื้อคืนและเผาโทเค็น เช่น ลดปริมาณโทเค็นในการหมุนเวียน เพิ่มราคา ประชาสัมพันธ์โปรเจกต์ วางแผนการจัดสรรโทเค็นใหม่ ฯลฯ เหตุผลเหล่านี้ล้วนถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอด แต่ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีในการตัดสินใจซื้อหรือขายโทเค็นเพิ่ม อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุด
สรุป
การซื้อคืนและการเผาถือเป็นกลยุทธ์ที่ทรงพลังมากของโปรเจกต์บนบล็อกเชน การเผาถือเป็นการลดอุปทานเหรียญ และจากนั้นสามารถใช้การซื้อคืนเพื่อส่งผลต่อราคาตลาดได้
เมื่อใช้ทั้งสองแนวทางอย่างถูกต้อง จะเป็นการเพิ่มราคาโทเค็นเป็นหลักและช่วยลดความผันผวนบางประการที่เป็นลักษณะเฉาพะของตลาดคริปโต นอกจากนี้ยังแสดงให้คอมมูเห็นว่าเจ้าของโครงการมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง
.
.
.
Reference: Medium