การวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือ Technical Analysis เป็นการศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตของสินทรัพย์ ทำไปเพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต วิธีนี้ถูกใช้โดยเทรดเดอร์ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ที่พึ่งเข้าตลาดมา หรือว่ามือฉมังที่อยู่มานานแล้วก็ตาม
Technical Analysis ทำงานอย่างไร ?
เทรดเดอร์ที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเชื่อว่า การเคลื่อนไหวของราคาในอดีต สามารถทำนายการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้ ซึ่งเราสามารถดูรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาได้จากกราฟ
การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นการศึกษาราคาปัจจุบันและราคาในอดีต โดยอยู่บนหลักที่ว่า ความผันผวนของราคาไม่ได้เกินขึ้นแบบสุ่มๆ และสามารถระบุแนวโน้มได้เมื่อเวลาผ่านไป
แก่นแท้ของ Technical Analysis คือการวิเคราะห์ Demand และ Supply ซึ่งเป็นตัวแทนของความเชื่อมันของตลาดโดย หรือกล่าวได้ว่า ราคาของสินทรัพย์ บอกถึงแรงซื้อและแรงขาย รวมไปถึงอารมณ์ของเทรดเดอร์และนักลงทุนในตลาด ไม่ว่าจะเป็นความกลัวหรือความโลภ
โดย Technical Analysis มักจะแสดงประสิทธิภาพได้ดีในตลาดที่อยู่ภายใต้สภาวะปกติ พร้อมกับมีปริมาณการซื้อขายและสภาพคล่องที่สูง แต่ในตลาดที่มีสภาพคล่องต่ำหรือเจอกับอิทธิพลจากภายนอก อาจทำให้ TA ไร้ประโยชน์ได้
Indicators ที่มักจะถูกใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- Moving Averages : เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นเส้นบนกราฟที่แสดงค่าเฉลี่ยการเคลื่อนไหวของราคา สามารถใช้ระบุแนวโน้ม ระดับแนวรับและแนวต้านได้
- Relative Strength Index (RSI) : เป็นเครื่องมือประเภท Oscilators ใช้เป็นตัวบอกโมเมนตัมหรือแนวโน้ม เพื่อประเมินสภาวะการซื้อที่มากเกินไป (Overbought) หรือการขายที่มากเกินไป (Oversold)
- Bolinger Bands : เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบอกความผันผวน โดยมีการนำ Moving Averages มาผสมกกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อสร้างกรอบราคาของสินทรัพย์ในช่วงเวลานั้นๆ
วิธีการลงทุนโดยใช้ Technical Analysis
นักวิเคราห์ทางเทคนิค สามารถใช้ Indicators ที่ตัวเองชื่นชอบหรือรู้สึกว่าเข้ามือเพื่อหาโอกาสในการซื้อขาย เช่น อาจเข้าซื้อตอนที่ราคาทะลุเส้น Moving Average ขึ้นไปและ RSI เข้าสู่โซน Oversold
วิธีการเทรดด้วย Technical Analysis แบบง่ายๆ
- ระบุแนวโน้มของตลาด ดูกราฟราคาสินทรัพย์ในแต่ละช่วงเวลาต่างๆ ว่าตอนนี้มันมีแนวโน้มเป็นขาขึ้น ขาลง หรือไซด์เวย์
- ทำการระบุแนวรับแนวต้าน โดยแนวรับคือระดับราคาที่ผู้ซื้อมักจะเข้ามาทำการป้องกันไม่ให้ราคาตกลงไปมากกว่านี้ ส่วนแนวต้านคือระดับราคาที่ผู้ขายมักจะเข้ามากดดันราคาไม่ให้ขึ้นไปสูงมากกว่านี้
ข้อจำกัดของ Technical Analysis
การวิเคราะห์ทางเทคนิคไม่ใช่วิธีการที่สมบูรณ์แบบ เพราะรูปแบบของราคาในอดีต ไม่ได้เป็นการการันตีสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของราคาอาจได้รับอิทธิพลจากข่าวหรือเหตุการณ์ภายนอกอีกด้วย นอกจากนี้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคยังเรื่องของอารมณ์ของมนุษย์ หรือก็คือจากตัวเทรดเดอร์เอง ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดพลาดได้
การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับเทรดเดอร์และนักลงทุน แต่ก่อนจะใช้งานมัน ควรจะศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน และจำเอาไว้เสมอว่า Technical Analysis ไม่ใช่ Holy Grail ที่ทำให้เทรดได้ชนะแบบ 100%