หลังจากที่เราได้พูดคุยกันไปในบทความเรื่อง “ถอดรหัสการทำงานของระบบเศรษฐกิจ” ทำให้เรารู้ว่า เครดิต ทำหน้าที่เป็นเหมือนน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์ของการค้าโลก ลองนึกภาพว่า เราสามารถยืมเงินมาซื้อของที่เราต้องการได้ตอนนี้ แล้วค่อยจ่ายคืนทีหลัง เช่นเดียวกัน ภาคธุรกิจใช้เครดิตเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ สร้างกำไร แล้วค่อยชำระคืนเจ้าหนี้ ทีนี้คำถามคือ แล้วทำไมบางคนถึงให้คนอื่นยืมเงินตั้งแต่แรก ? และนี้คือแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ย คืออะไร ?
คิดว่าดอกเบี้ยเป็นค่าบริการที่ผู้ให้กู้เรียกเก็บจากผู้กู้ สมมุติว่า โทนี่ยืมเงิน 10,000 บาทจากสตีฟในอัตราดอกเบี้ย 5% โทนี่จำเป็นต้องคืนเงินให้กับสตีฟจำนวน 10,000 บาท (เงินต้น) บวกกับ 5% ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยอีก 500 บาท รวมเป็น 10,500 บาท
ดอกนั้นอัตราดอกเบี้ยคือเปอร์เซ็ตของจำนวนเงินกู้ที่ต้องชำระต่องวด หากดอกเบี้ยอยู่ที่ 5% ต่อปี โทนี่จะต้องคืน 10,500 ในปีแรก หลังจากนั้น ก็จะมีสองสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นคือ
- อัตราดอกเบี้ยธรรมดา : ในแต่ละปีเงินที่ต้องจ่ายคืนจะเพิ่มอีก 5% ของเงินต้น
- อัตราดอกเบี้ยทบต้น : 5% ของ 10,500 ในปีแรก จากนั้นอีก 5% ของยอดรวมใหม่ 10,500 + 525 = 11,025 ในปีที่สอง และเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกปี
ทำไมเราควรสนใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ?
อัตราดอกเบี้ยส่งผลกระทบกับเราทุกคน ต่อให้คุณจะเก็บเงินส่วนใหญ่ไว้ในสกุลดิจิทัล แต่คุณก็ยังได้รับผลกระทบเนื่องจากบทบาทโดยธรรมชาติในระบบเศรษฐกิจ
รูปแบบธุรกิจหมุนรอบการยืมและการให้ยืมเงิน เมื่อคุณฝากเงิน คุณกำลังให้ธนาคารกู้ยืมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะจ่ายดอกเบี้ยให้คุณสำหรับการเอาเงินของคุณไปใช้ เช่นเดียวกัน ถ้าหากคุณกู้เงินมา คุณก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคาร
แล้วใครเป็นคนตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ? มันเป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง เช่น US Federal Reserve หรือ Bank of England พวกเขาพยายามทำให้เศรษฐกิจมีสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (รวมไปถึงปรับปรุงนโยบายอื่นๆ ด้วย)
เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูง คุณก็จะได้รับเงินมากขึ้นจากการปล่อยกู้ แต่ต้นทุนในการกู้ยืมก็จะมีราคาแพงขึ้น ในทางกลับกัน อัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้การกู้ยืมเงินนั้นน่าดึงดูดใจ แต่การปล่อยกู้ก็จะมีผลกำไรน้อยลง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค เมื่อการใช้จ่ายน้อยลง ก็สามารถกระตุ้นให้ผู้คนและธุรกิจจับจ่ายใช้สอยด้วยด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย การกู้ยืมเงินที่มากขึ้นหมายถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ การลดอัตราดอกเบี้ยอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อได้ ในขณะที่ความพร้อมในการสร้างสินเชื่อเพิ่มขึ้น ทรัพยากรต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นโดยที่อุปทานเท่าเดิม ราคาของสินค้าก็สูงขึ้น นำไปสู่ภวะเงินเฟ้อ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเพื่อลดการสร้างสินเชื่อและกระตุ้นการออมเงิน ซึ่งจะช่วยลดอัตราเงินเฟ้อ แต่ชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ
แล้วอัตราดอกเบี้ยติดลบเป็นยังไง ?
บางที่เราอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยติดลบ มันอาจจะฟังดูแปลก ที่เราต้องจ่ายเงินเพิ่มให้กับคนที่ยืมเงินเราไป หรือการจ่ายค่าธรรมเนียมใหักับธนาคารที่เรานำเงินไปฝาก
อย่างไรก็ตาม บางครั้งอัตราดอกเบี้ยติดลบถือเป็นอันตรายกับเศรษฐกิจที่กำลังฝืดเคือง เพราะในช่วงเวลานั้น ผู้คนอาจเก็บเงินเอาไว้ รอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวก่อนค่อยทำการใช้จ่าย อัตราดอกเบี้ยติดลบมีไว้เพื่อตอบโต้พฤติกรรมเหล่านี้ โดยการทำให้การกู้ยืมเงินและการใช้จ่ายสมเหตุสมผลมากกว่าการเก็บออม
อัตราดอกเบี้ยอาจดูเหมือนเป็นแนวคิดง่ายๆ ในแวบแรก แต่อย่างไรก็ตาม ตามที่เราได้เรียนรู้กันไป สิ่งเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมทางเศรษฐกิจและเป็นเครื่องมือสำคัญที่ธนาคารกลางใช้ในการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจ การทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจได้ดีขึ้นว่า ระบบเศรษฐกิจทำงานอย่างไร และส่งผลกระทบอย่างไรต่อชีวิตของเรา