Black Monday คือวันที่แย่สุดๆ ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งหมายถึงวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม ปี 1987 ซึ่งในวันนั้น ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) ลดลงมากถึง 22% ภายในวันเดียว เหตุการณ์ความปั่นป่วนทางการเงินครั้งนี้ไม่ใช่เหตุการณ์เพียงครั้งเดียว เนื่องจากก่อนหน้านี้ ตลาดหุ้นมีการดิ่งลงครั้งใหญ่ถึงสองครั้งเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า
Black Monday มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการเริ่มต้นการชะลอตัวของตลาดทั่วโลก ด้วยปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มสูงขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้นจึงต้องทำงานอย่างหนัก เกิดความล่าช้าอย่างมาก จนไม่สามารถทำการจับคู่คำสั่งซื้อที่เข้ามาอย่างมหาศาลให้สำเร็จครบถ้วนได้
แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว “Black Monday” จะหมายถึงเหตุการณ์ในปี 1987 แต่คำนี้ยังถูกใช้เพื่ออธิบายการตกต่ำของตลาดอย่างรุนแรงในช่วงเวลาอื่นๆ ด้วย
ทำไมตลาดหุ้นถึงถล่ม ?
Black Monday เมื่อปี 1987 ไม่มีเหตุการณ์หรือข่าวสำคัญที่ทำให้เกิดการถล่มอย่างฉับพลัน แต่มันเป็นผลกระทบแบบโดมิโนจากปัจจัยต่างๆ ที่สร้างบรรยากาศแห่งความตื่นตระหนกและความไม่แน่นอน และนี่คือสาเหตุ
- ระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์แบบเก่า : ก่อนปี 1980 การซื้อขายเกิดขึ้นในตลาดหุ้นที่วุ่นวายและแออัด แต่เมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น ความสะดวกในกิจกรรมการซื้อขายที่รวดเร็วปานสายฟ้าแลบ ระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ราคาหุ้นเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
- ปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ : การขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ และความตึงเครียดระหว่างประเทศก็มีส่วนเช่นกัน นอกจากนี้ อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของสื่อยิ่งขยายความรุนแรงของเหตุการณ์ต่างๆ
อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักของมันคือการตัดสินใจของมนุษย์ จิตวิทยาของนักลงทุนในตลาดเป็นผู้เล่นหลักของสถานการณ์เหล่านี้ และความตื่นตระหนกของคนหมู่มากมักทำให้เกิดการเทขายจำนวนมาก
อะไรคือ Circuit Breaker ?
หลังเหตุการณ์ Black Monday สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (the US Securities and Exchange Commission : SEC) ได้วางกลไกหลายอย่างเพื่อป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หนึ่งในเครื่องมือดังกล่าวคือ Circuit Breaker
พูดง่ายๆ ก็คือ Circuit Breaker จะทำการหยุดการซื้อขายเมื่อราคาถึงเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดเมื่อเทียบกับราคาเปิดของวัน มันเหมือนกับเป็นเป็นสวิตช์นิรภัยที่จะปิดตลาดชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดการเทขายมากเกินไปจนควบคุมไม่ได้
ตัวอย่างเช่น หาก ดัชนี S&P 500 ลดลงมากกว่า 7% ภายในหนึ่งวัน การซื้อขายจะหยุดเป็นเวลา 15 นาที (Level 1 Circuit Breaker) หากตลาดตกลงไปอีก 13% ก็จะหยุดอีก 15 นาที (Level 2 Circuit Breaker) และหากเกิดลดลงถึง 20% (Level 3 Circuit Breaker) ตลาดหุ้นก็หยุดทำการซื้อขายตลอดช่วงเวลาที่เหลือของวัน
ไม่ใช่ทุกคนที่คิดว่า Circuit Breake rเป็นความคิดที่ดี นักวิจารณ์หลายคนโต้แย้งว่าจริง ๆ แล้ว วิธีนี้อาจเพิ่มความรุนแรงของสถานการณ์ โดยส่งผลต่อการวางคำสั่งซื้อขายในบางระดับราคา ทำให้สภาพคล่องลดลง ความผันผวนที่มากขึ้นอาจส่งผลให้มีคำสั่งซื้อไม่เพียงพอที่จะรองรับอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิด
วิธีรับมือตลาดถล่ม
การล่มสลายของตลาดแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากธรรมชาติของตลาดและจิตวิทยาของมวลชน แล้วเราจะเตรียมตัวรับมือกับพายุการเงินเหล่านี้ได้อย่างไร
ขั้นแรก สร้างแผนการลงทุนหรือกลยุทธ์การซื้อขาย ในช่วงที่มีเหตุการณ์ร้ายแรง การเทขายด้วยอารมณ์หรือความตื่นตระหนกเป็นเรื่องปกติ สิ่งสำคัญคือต้องสงบสติอารมณ์และหลีกเลี่ยงการตัดสินใจโดยผลีผลาม การมีแผนหรือกลยุทธ์ระยะยาวช่วยป้องกันการเคลื่อนไหวที่หุนหันพลันแล่น
ประการที่สอง พิจารณาการตั้งค่าจุดหยุดการขาดทุน หรือ Stop-Loss เป็นแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นในการปกป้องการลงทุนของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการซื้อขายระยะสั้น มันสามารถช่วยคุณจากการขาดทุนอย่างรุนแรงในกรณีที่ตลาดพังทลายได้
แม้ว่าตลาดทั่วโลกจะถล่มเพียงชั่วคราว แต่สิ่งนี้ใช้ไม่ได้กับตลาด cryptocurrency ซึ่งยังถือว่าเป็นของใหม่และมีความเสี่ยงสูง สินทรัพย์คริปโตบางอย่างอาจไม่สามารถย้อนกลับไปที่เดิมได้ได้หลังจากเกิดความผิดพลาดของตลาดอย่างที่รุนแรง ซึ่งเราเคยได้เห็นกันมาแล้วกับเหตุการณ์ Luna หรือว่า FTX
บันทึกเหตุการณ์ Black Monday ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
28 ตุลาคม 1929 : ความผิดพลาดหลายอย่างทับซ้อนกันจนทำให้ตลาดหุ้นถล่มรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression)
29 กันยายน 2008 : ผลพวงฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก หรือที่เราเรียกกันว่า วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์
9 มีนาคม 2020 และ 16 มีนาคม 2020 : วันที่ตลาดหนุ้สหรัฐฯ และตลาดการเงินทั่วโลกร่วงลงอย่างมากเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและสงครามราคาน้ำมัน
ถึงแม้ว่า “Black Monday” มักจะหมายถึงการพังทลายของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในปี 1987 แต่ก็อาจหมายถึงการตกต่ำของตลาดที่สำคัญอื่นๆ ได้เช่นกัน เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การเปิดตัวกฎระเบียบใหม่ เช่น Circuit Breaker ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับผลกระทบจากการล่มของตลาดอย่างกะทันหัน
แล้วเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการล่มสลายของตลาดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ? นึกถึงสถานการณ์ที่เป็นไปได้เพื่อสร้างแผนการลงทุนหรือกลยุทธ์การซื้อขายที่เหมาะสมกับตัวเรา และอย่าลืมลงทุนด้วยจำนวนเงินที่คุณสามารถเสียได้เท่านั้น