ลดค่าครองชีพ
1. เปิดตลาดซื้อ-ขายไฟฟ้าเสรี รัฐดูแลระบบสายส่งปลดล็อกให้ประชาชนเลือกซื้อแผนการใช้ไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตหลายราย (เหมือนการเลือกแพ็คเกจโทรศัพท์) โดยการยกเลิกการที่ กฟผ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้ารายเดียว และเปิดตลาดแข่งขันเสรี เพื่อลดค่าไฟให้ประชาชน
2. “ค่าไฟแฟร์” ถูกและเป็นธรรมสำหรับประชาชนลดค่าไฟให้กับประชาชนได้อย่างน้อย 70 สตางค์/หน่วย (เฉลี่ยบ้านละ 150 บาท) โดยปรับนโยบายเพื่อให้ความสำคัญกับประชาชนก่อนกลุ่มทุน
3. “หลังคาสร้างรายได้” เปิดเสรีโซลาร์เซลล์ ประกันราคาซื้อพลังงานสะอาดสำหรับครัวเรือนปลดล็อกให้ประชาชนทุกบ้านติดแผงโซลาร์ ด้วยระบบ net metering (หักลบหน่วยขาย/ซื้อ) เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า และเปิดโอกาสให้ขายไฟฟ้าที่ผลิตเกินใช้ กลับคืนให้รัฐในราคาตลาด
4. สร้างความมั่นคงทางพลังงานภายในประเทศดินหน้าเร่งเจรจาสัมปทานก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา เพื่อลดการพึ่งพา LNG นำเข้า
5. เพิ่มรายได้รัฐจากโรงแยกก๊าซนำ LPG จากโรงแยกก๊าซ ที่จะขายให้โรงปิโตรเคมีโดยไม่ได้ให้ประชาชนใช้ ส่งเข้ากองทุนน้ำมัน/หรือเก็บภาษีปิโตรเคมี เพื่อเพิ่มรายได้รัฐในการดูแลประชาชน
6.ลดความแปรปรวนของราคาน้ำมันควบคุมค่าการตลาดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ตกลง และเปิดเผยข้อมูลราคาขายหน้าโรงกลั่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน
สร้างงาน เพิ่มรายได้
7. เปลี่ยนปัญหาเป็นอาชีพ สร้างงาน ซ่อมประเทศลงทุนปรับปรุงบริการสาธารณะพื้นฐานของประเทศ เช่น ระบบประปา ระบบขนส่งสาธารณะ โดยให้มีการจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการภายในประเทศ อาทิ มิเตอร์น้ำอัจฉริยะ รถเมล์ EV ซึ่งมีการผลิตชิ้นส่วนและสินค้าขั้นสุดท้ายภายในประเทศ การลงทุนเหล่านี้จะก่อให้เกิดการจ้างงานตลอดห่วงโซ่การผลิต
แก้ปัญหาหนี้สิน
8. หนี้สินธนาคารรัฐ จ่ายดี ลดดอกเบี้ยผ่อนปรนภาระหนี้สินให้กับลูกหนี้บุคคลธนาคารรัฐ ที่จ่ายดี จ่ายตรงเวลาเกินกว่า 12 งวด ด้วยการลดดอกเบี้ย 10 % โดยรัฐบาลจะเป็นผู้อุดหนุนงบประมาณชดเชยการลดดอกเบี้ย
9. ดอกเบี้ยเงินกู้เป็นธรรม ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลการชำระเงินส่งเสริมให้ธนาคารนำข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลในการชำระค่าสาธารณูปโภค (เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า) คำนวณเครดิตของลูกหนี้ เพื่อให้ธนาคารประเมินความเสี่ยงได้ดีขึ้น
10. ประกาศสงครามหนี้นอกระบบ ตั้งงบปรับโครงสร้างหนี้ 1 หมื่นล้านบาททำหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยใช้กลไกของสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับตำรวจ อัยการ สรรพากรและดีเอสไอ ในการเจรจากับเจ้าหนี้
11. หนี้ราชการไม่ท่วมหัว หักไม่เกิน 70% ของเงินเดือนดำเนินการให้มีการเจรจากับเจ้าหนี้ที่จะให้กรมบัญชีกลางหักเงินเดือนต้องรับเงื่อนไขปรับดอกเบี้ยให้ไม่เกิน MLR -1%
ส่งเสริม SME
12. ลดรายจ่าย SME: บรรเทาผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรัฐช่วยสมทบค่าประกันสังคมในส่วนของผู้ว่าจ้าง สำหรับแรงงานที่ถูกกระทบโดยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (6 เดือนแรก)
13. ลดรายจ่าย SME: ลดภาษีนิติบุคคล SME ให้เหลือ 0-15%ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล SMEs ให้เหลือ 0-15%
14. ลดรายจ่าย SME: หักค่าใช้จ่ายเหมาภาษี เพิ่มจาก 60% เป็น 90%เปิดให้ SMEs หักค่าใช้จ่ายเหมาภาษีบุคคลได้เพิ่มเป็น 90% (จากเดิม 60%)
15. เพิ่มแต้มต่อให้ SME: หวยใบเสร็จ ซื้อของร้านค้ารายย่อย ทั้งคนซื้อคนขายได้หวย ลุ้นรวยเงินล้านเพิ่มลูกค้าให้ SMEs โดยการเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนที่เลือกซื้อสินค้า SME ได้รับแถมสลากกินแบ่งของรัฐบาลไปลุ้นรางวัล
16. เพิ่มแต้มต่อให้ SME: ลดหย่อนภาษีให้ธุรกิจที่ซื้อจาก SMEป้องกันไม่ให้กลุ่มทุนใหญ่ขยายกิจการกินรวบทั้งห่วงโซ่อุปทาน
17. เติมตลาดให้ SME: โควตาชั้นวางสำหรับสินค้า SME ในห้างใหญ่กำหนดสัดส่วนชั้นวางสำหรับสินค้า SMEs ในห้างสมัยใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้สินค้า SMEs ได้มีโอกาสมาวางขาย
18. เติมตลาดให้ SME: คูปองแลกซื้อสินค้าท้องถิ่นให้ประชาชนผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีเครดิต สำหรับการแลกซื้อสินค้าท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์เกษตร ในราคาครึ่งหนึ่ง
19. เติมทุนให้ SME: ทุนแสนตั้งตัว 2 แสนราย/ปี & ทุนล้านตั้งตัว 2.5 หมื่นราย/ปี ไม่ต้องวางหลักประกันปล่อยกู้ให้ SME เข้าถึงแหล่งทุนในระบบ
20. รวมกลุ่ม SME: จัดตั้งสภา SMEs ทุกจังหวัดจัดตั้งสภา SMEs ในทุกจังหวัด เพื่อให้ SMEs มีตัวแทนช่วยสะท้อนความต้องการสู่ทุกภาคส่วน
ทลายทุนผูกขาด
21. ปรับปรุงกฎหมายแข่งขันทางการค้า ทลายทุนผูกขาดกำหนดให้กฎหมายแข่งขันทางการค้าเป็นกฎหมายสูงสุด – กฎหมายเฉพาะที่กำกับดูแลธุรกิจอื่นๆ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำไปกว่านี้
22. เพิ่มการแข่งขันในธุรกิจการเงิน เพิ่มจำนวนใบอนุญาต Virtual Bank อย่างน้อย 3 เท่าเพิ่มจำนวนใบอนุญาต Virtual Bank เป็น 10 ราย (จากเดิม 3 ราย)
ท่องเที่ยว
23. ส่งเสริมและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health & Wellness Tourism)กำหนดเป็นเป้าหมายการเป็น medical hub ที่สอดคล้องกับเทรนด์ตลาดโลก เช่น บริการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย ยกระดับธุรกิจเสริมความงาม
24. ส่งเสริมและยกระดับการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism)สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงความยั่งยืน ผ่านการให้ผลตอบแทนเป็น Carbon Credit แก่ทั้งผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยวสายสิ่งแวดล้อมที่มาใช้บริการ
25. ส่งเสริมและยกระดับการท่องเที่ยว-ทำงาน (Workation)เปิดให้มี Visa เข้ามาทำงานระยะยาวขึ้นมาอีกประเภท ที่มีระยะสั้นกว่า LTR เดิม (1 ปี แต่สามารถต่อได้ทุกปี) แต่มีเงื่อนไขเรื่องรายได้ผ่อนปรนกว่าเงื่อนไขของ LTR อาทิ ลดจำนวนรายได้ต่อปี ไม่กำหนดวุฒิการศึกษา ไม่กำหนดรายได้ของบริษัทที่ทำให้ด้วย เพื่อให้มีเงื่อนไข Visa ที่สามารถดึงดูด Digital Nomad สู้กับประเทศอื่น ๆ ได้
26. ปลดล็อกผู้ประกอบการรายย่อยด้านการท่องเที่ยวแก้กฎกระทรวง ตาม พรบ. สำหรับสถานที่พักที่ไม่ใช่โรงแรม ให้เหมาะสมกับแต่ละประเภท ไม่ใช่ยึดมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด
27. 1 เมือง 1 พิพิธภัณฑ์จัดให้มีพิพิธภัณฑ์ในทุกเมืองเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของการสร้างเรื่องเล่าในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พื้นที่
28. ส่งเสริมเทศกาลดึงดูดนักท่องเที่ยวตลอดปีส่งเสริมเทศกาลของแต่ละพื้นที่ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
29. คุ้มครองเสรีภาพทางศิลปะ ยกเลิกการเซนเซอร์รื้อ พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 2551 ยกเลิกมาตราที่เปิดช่องให้รัฐสามารถแบนภาพยนตร์ที่ขัดต่อความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีได้
30. เพิ่มความหลากหลายทางศิลปะ รัฐไม่แทรกแซง-ไม่ทำตัวเป็นตำรวจศีลธรรม-ไม่แช่แข็งวัฒนธรรมวางบทบาทของหน่วยงานสนับสนุนงานสร้างสรรค์ ให้มีระยะห่างจากรัฐเพื่อลดการแทรกแซง
31. เปลี่ยนกระทรวงวัฒนธรรม เป็นกระทรวงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมสร้างสรรค์กำหนดให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์รับบทบาทหลักในการกำหนดนโยบาย ทำวิจัยและข้อมูล
32. เพิ่มงบสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 10 เท่าจัดสรรงบประมาณใหม่ เพื่อเพิ่มงบทั้งหมดที่ใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 10 เท่า จาก 500 ล้านบาท เป็นอย่างน้อย 5,000 ล้านบาท
33. “ส่งออกได้ รัฐให้ bonus” รัฐส่งเสริมงานสร้างสรรค์ที่เจาะตลาดเวทีโลกได้รัฐจะช่วยสมทบงบประมาณให้กับผู้ผลิตงานสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ เพลง หนังสือ หรืองานศิลปะต่าง ๆ
34. รื้อกฎระเบียบ-ใบอนุญาต ถ่ายทำหนังในไทยได้สะดวก ตั้งเงื่อนไขส่งเสริมคนไทยลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนหรือเกณฑ์ที่ไม่จำเป็นสำหรับกองถ่ายที่มีการขอถ่ายทำในไทย (ตามแนวทางของนโยบายลดใบอนุญาต 50%)
35. เพิ่มพื้นที่ผลิตและแสดงงานสร้างสรรค์ (เช่น co-studio แกลเลอรี่)ใช้กลไกส่วนลดภาษีที่ดิน (negative land tax) เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้เอกชนในการใช้พื้นที่เพื่องานสร้างสรรค์
36. กองทุนภาพยนตร์ เพื่อสนับสนุนผู้ผลิตหนังหน้าใหม่สนับสนุนการสร้างโอกาสให้กับภาพยนตร์หน้าใหม่ โดยการให้ทุนถ่ายทำหลายระดับ
37. กำหนดสัดส่วนเวลาฉายขั้นต่ำสำหรับภาพยนตร์ไทย-ท้องถิ่นในโรงหนังกำหนดหรือเจรจาสัดส่วนเวลาฉายขั้นต่ำในโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ สำหรับการฉายภาพยนตร์ไทย-ท้องถิ่น
38. ทลายการผูกขาดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าอย่างจริงจัง ในกรณีการผูกขาดในกิจการเดียวกัน (horizontal) และ ข้ามกิจการ (vertical) ซึ่งทำให้มีอำนาจเหนือตลาด
39. คุ้มครองสวัสดิภาพและสิทธิแรงงานสร้างสรรค์และคนทำงานในกองถ่ายนำทุกคนเข้าสู่รับบประกันสังคมถ้วนหน้า – เจ็บป่วยได้เงินชดเชย-ค่าเดินทางหาหมอ
เศรษฐกิจโปร่งใส
40. อาชีพให้บริการทางเพศ (sex worker) ถูกกฎหมายออก พ.ร.บ. ค้าประเวณีและคุ้มครองผู้ให้บริการ ฉบับใหม่ เพื่อควบคุมการค้าประเวณี ให้ผู้ให้บริการทางเพศได้รับการคุ้มครองการทำงาน และมีอำนาจต่อรองกับเจ้าของสถานบริการ
41. ปลดล็อกเซ็กซ์ทอย (sex toy) และหนังผู้ใหญ่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 เพื่อปลดล็อกเซ็กซ์ทอย และหนังผู้ใหญ่ออกจากสิ่งอื่นใดอันลามก
42. ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอนุญาตให้มีการผลิต นำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยได้
43. คาสิโนถูกกฎหมาย รัฐกำกับดูแลอนุญาตให้ เสนอให้มีคาสิโนอย่างถูกกฎหมายโดยจำกัดอายุผู้เล่น ไม่ต่ำกว่า 20 ปี
44. คาสิโนออนไลน์ถูกกฎหมาย รัฐกำกับดูแลออก พ.ร.ฎ. กำหนดจำนวน และให้คณะกรรมการฯ ออกใบอนุญาต-ควบคุม เหมือนเป็นคาสิโนปกติ
คมนาคมเพื่อทุกคน
45. รถเมล์ไฟฟ้าทุกคันภายใน 7 ปีออก พ.ร.บ. ค้าประเวณีและคุ้มครองผู้ให้บริการ ฉบับใหม่ เพื่อควบคุมการค้าประเวณี ให้ผู้ให้บริการทางเพศได้รับการคุ้มครองการทำงาน และมีอำนาจต่อรองกับเจ้าของสถานบริการ
46. ลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เลิกการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่แบบซ้ำซ้อน (เช่น การก่อสร้างทั้งมอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ในเส้นทางเดียวกัน ซึ่งมีจำนวนคนเดินทางไม่มากพอ)
47. รถไฟทั่วถึง ทุกจังหวัดทั่วไทยขยายโครงข่ายทางรถไฟให้ครอบคลุมอีก 30 จังหวัดที่ยังไม่มีทางรถไฟ
48. ออกแบบระบบถนนหนทาง เพื่อลดรถติด-ลดอุบัติเหตุพัฒนาโครงข่ายถนนอย่างมีลำดับชั้นของถนน (เช่น ถนนสายประธาน ถนนในเมือง) ไม่ใช่แบ่งประเภทถนนตามหน่วยงานเจ้าของถนน (กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท) เป็นหลัก
49. กระจายงบซ่อมถนนอย่างเป็นธรรมพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพถนน ว่าถนนไหนควรซ่อมก่อนหรือหลัง ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องการเมือง ใครมีอำนาจก็ดึงงบลงไปซ่อมในจังหวัดที่เป็นเขตอิทธิพลของตนเอง
50. กระจายอำนาจด้านการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะถ่ายโอนอำนาจในการอนุญาตเดินรถ กำหนดเส้นทางเดินรถ และราคาค่าโดยสาร จากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง/จังหวัด มาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการแทน
51. ผนวกความต้องการด้านการขนส่งเข้ากับการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
52. พัฒนาระบบตั๋วร่วม ใช้บัตรใบเดียว เดินทางได้ทุกระบบขนส่งสาธารณะทั่วไทยพัฒนาระบบตั๋วร่วม ใช้บัตรใบเดียวเดินทางได้ทุกระบบขนส่งสาธารณะทั่วประเทศไทย
53. รถเมล์และรถไฟฟ้า 8-45 บาทตลอดสาย ใช้บัตรใบเดียว ครอบคลุมทั้ง กทม.พัฒนาระบบค่าโดยสารร่วม กำหนดราคาค่าโดยสาร
54. รถเมล์ไฟฟ้าทุกจังหวัด – เติมเงินให้ท้องถิ่น เพิ่มขนส่งสาธารณะอุดหนุนงบประมาณ 10,000 ล้านบาท เพื่อผลักดันในการเกิดการลงทุนเดินรถเมล์ไฟฟ้า ในทุกเมือง ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ และทำให้ค่าโดยสารรถเมล์อยู่ในราคาที่เหมาะสม ไม่เป็นไปภาระกับประชาชนเกินควร
ปักธงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
55. ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถเมล์-รถบรรทุกไฟฟ้าโดยออกมาตรการส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการขนส่งที่ยังใช้รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ดีเซล-NGV-LPG) เปลี่ยนไปใช้รถพลังงานไฟฟ้า โดยภาครัฐออกมาตรการส่งเสริม
56. สร้างเศรษฐกิจสีเขียวครบวงจรส่งเสริมการวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนของอนาคต เช่น ไฮโดรเจน พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์เข้มข้น เพื่อสนับสนุนแนวทางเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศ
57. สร้างอุตสาหกรรมชิปในประเทศส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้า (Power Electronics)ตั้งแต่ต้นน้ำ ที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญในอุปกรณ์ไฟฟ้าสมัยใหม่ เช่น รถ EV อุปกรณ์ชาร์จเร็ว สถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว ไปจนถึงอุปกรณ์ควบคุมกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
การต่างประเทศเพื่อคนไทย
58. ยกระดับบทบาทไทยใน ASEANฟื้นฟูบทบาทนำของประเทศไทยในเวทีอาเซียน ด้วยการยกฐานะให้ประเทศไทยกลับมาเป็นประเทศผู้นำในการเจรจาด้านต่าง ๆ ทั้งภายในกลุ่มประเทศอาเซียน และในฐานะตัวแทนของกลุ่มประเทศอาเซียนในการเจรจากับประเทศนอกกลุ่มอีกครั้ง
59. ศาลสิทธิมนุษยชนแห่ง ASEAN (Southeast Asian Court of Human Rights)เพื่อเป็นการรับรองและรับประกันความยุติธรรมจากปัญหาการโดนละเมิดสิทธิโดยรัฐ อาเซียนจําเป็นต้องมีการผลักดันให้มีศาลสิทธิมนุษยชนแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เกิดขึ้น
60. ลงนามและให้สัตยาบันกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนปัจจุบันประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศหลักแล้วทั้งสิ้น 7 ฉบับ โดยไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
61. รักษาสันติภาพและคุณค่าประชาธิปไตย ภายใต้สงครามของมหาอำนาจพรรคก้าวไกลเชื่อมั่นในค่านิยมก้าวหน้า (Progressive Values) สิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย แต่ก็พร้อมสร้างความร่วมมือกับจีนเพื่อเป้าหมายที่จะสร้างเอเชียที่สงบสุข แลมีะมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
62. การทูตเกษตรเชิงรุก – เร่งหาแหล่งแม่ปุ๋ย & เปิดตลาดสินค้าเกษตรทำงานเชิงรุกในการเข้าถึงแหล่งแม่ปุ๋ยในประเทศใหม่ๆ เพื่อจัดหาแม่ปุ๋ยมาให้เกษตรกรในราคาที่แข่งขันได้ รวมถึงต้องช่วยเปิดตลาดสินค้าเกษตร และลดอุปสรรคทางการค้า เพื่อให้สามารถส่งออกยังประเทศนั้นได้โดยตรง โดยไม่ติดขัด โดยเฉพาะด้านสุขอนามัย และมาตรฐานคุณภาพต่างๆ
63. ตั้งเป้าขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกแบบรวมกลุ่มสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยไม่นำประเด็นด้านชาตินิยมมาใช้ในการสร้างความนิยมทางการเมือง
64. ตั้งสำนักงานผู้แทนการค้าไทย (TTRO) ขึ้นตรงนายกฯจัดตั้งสำนักงานผู้แทนการค้าไทย เป็นส่วนราชการเทียบเท่ากรมขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
65. พาสปอร์ตไทย ฟรีวีซ่าได้มากขึ้นปัจจุบันประเทศไทยสามารถเดินทางเข้าประเทศอื่นโดยไม่ต้องขอวีซ่าได้ 42 ประเทศ ขอวีซ่าเมื่อไปถึงปลายทางได้ 52 ประเทศ และยังมีอีก 104 ประเทศ ที่ผู้ถือพาสปอร์ตไทยจะต้องขอวีซ่าก่อนเดินทาง
66. โครงการศึกษาแลกเปลี่ยนสำหรับครูเพื่อพัฒนาทักษะภาษาทำโครงการ Thailand Exchange and Teaching (TET) Programโดยรับอาสาสมัครชาวต่างชาติซึ่งจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมาเป็นครูผู้ช่วยสอนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน หรือภาษาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนระดับท้องถิ่น
67. การทูตวัคซีนเชิงรุก – เร่งฉีดให้กับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนสองฝั่งเร่งฉีดวัคซีน ทั้งวัคซีนโควิด และวัคซีนป้องกันโรคอื่นให้กับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ตามชายแดนฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน ถือเป็นการป้องกันโรคเชิงรุก ไม่ให้เกิดการติดเชื้อไวรัสข้ามพรมแดนอีกวิธีหนึ่ง
68. การทูตฝุ่นเชิงรุก – แก้ปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนในระดับระหว่างประเทศผลักดัน พ.ร.บ. อากาศสะอาด ซึ่งมีการกำหนดโทษของผู้ที่ปล่อยควันพิษข้ามพรมแดน รวมไปถึงการลงโทษบริษัทไทยและบริษัทต่างประเทศซึ่งมีส่วนก่อให้เกิดมลภาวะแก่ประเทศไทย
69. ไทยเป็นศูนย์กลาง ASEAN ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก & Green Techสร้างเศรษฐกิจสีเขียว เปลี่ยนแนวทางการผลิตไฟฟ้ามาเป็นการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน