KEY TAKEAWAYS
- Fed ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.50% ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในรอบ 15 ปี
- คาดว่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อไปในปี 2023 และเริ่มปรับลดในปี 2024 คาดว่าสิ้นปี 2024 Funds rate จะลดลงเหลือ 4.1%
- ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP เหลือ 0.5% จากที่ในเดือนกันยายนคาดการณ์ไว้ที่ 1.2%
สรุปประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ประชุมไปเมื่อ 02.00 น. วันที่ 15 ธันวาคม 2022 (เวลาประเทศไทย)
- Fed ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.50% ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.25% – 4.5% สูงสุดในรอบ 15 ปี
- Powell ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางจะรักษาระดับหรือชะลอความเร็วในการประชุมครั้งหน้า
- Powell กล่าวว่าต้องต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อต่อไป
- คาดว่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนถึงปีหน้า โดยไม่มีการลดลงจนกว่าจะถึงปี 2024
- คาดว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจะขึ้นไปถึง 5.1% ในปี 2023 สูงกว่าที่ Fed คาดการณ์ไว้ในเดือนกันยายนที่ 4.6%
- จากนั้นจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยลงในปี 2024 โดยสิ้นปี 2024 คาดว่าจะมี Funds Rate (อัตราดอกเบี้ยเป้าหมายที่กำหนดโดย FOMC) 4.1% ปี 2025 เหลือ 3.1% ก่อนที่ในระยะยาวจะกลับมาอยู่ที่ 2.5%
- ยังห่างไกลจากอัตรา 2% ที่ Fed หวังไว้ จึงยังจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป และก็เตือนว่าอย่าพึ่งพาแนวโน้มในช่วงสั้นๆ (2 – 3 เดือน) มากเกินไป
- การจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อัตราการว่างงานต่ำ อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความไม่สมดุลของ Demand – Supply
- ข้อมูลในเดือนตุลาคมและ พฤศจิกายน พบว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคารายเดือนเริ่มชะลอตัวลง แต่ต้องใช้หลักฐานเพิ่ม เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง
- อย่างไรก็ตาม ปีหน้ามีแนวโน้มที่จะเกิดสิ่งไม่แน่นอนค่อนข้างกว้างที่อาจส่งผลต่อเงินเฟ้อ
- เจ้าหน้าที่ Fed เชื่อว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยดึงเงินออกจากเศรษฐกิจ ลดอุปสงค์และดึงราคาให้ต่ำลงในที่สุด
- FOMC ลดเป้าหมายการเติบโตในปี 2023 ลงโดยคาดว่า GDP (Gross Domestic Product : ผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ) จะเพิ่ม 0.5% จากที่ในเดือนกันยายนคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 1.2%
- การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามข้อมูลที่แสดงความคืบหน้าในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ ซึ่งก็คือ CPI (Consumer Price Index : ดัชนีราคาผู้บริโภค) เพิ่ม 0.1% ในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาด, Core CPI อยู่ที่ 6% ส่วน PCE ลดลงอยู่ที่ 5% ต่อปีในเดือนตุลาคม
- ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls) เพิ่มขึ้นเยอะกว่าที่คาดที่ 263,000 ในเดือนพฤศจิกายน ยอดค้าปลีกเพิ่ม 1.3% ในเดือนตุลาคม และเพิ่มขึ้น 8.3% ในรายปี ส่วน Atlanta Fed พบว่า GDP โต 3.2% ในไตรมาสที่สี่ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้บ่งชี้ว่าผู้บริโภคกำลังเผชิญอัตราเงินเฟ้อ
- Powell กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อด้านบริการยังสูงเกินไป
- ยังมีเวลาอีกเยอะที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะการจ้างงานยังแข็งแกร่ง ผู้บริโภคซึ่งถือเป็นสองในสามของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ยังคงใช้จ่ายกันอยู่
- ภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นจากปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ปัญหา Supply Chain ซึ่งเกิดจาก Outsized Demand ในช่วงโรคระบาด, ราคาพลังงานสูงขึ้นเพราะสงครามรัสเซีย-ยูเครน และแรงกระตุ้นทางการเงินและการคลังที่สร้างเงินหลายล้านล้านดอลลาร์
- Powell กล่าวว่าเศรษฐกิจยังคงสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้
References: Federalreserve, CNBC(1), CNBC(2)