fbpx

7 กับดักทางจิตวิทยาที่นักลงทุนทุกคนต้องเข้าใจ

HomeINVESTINGPSYCHOLOGY | Investing7 กับดักทางจิตวิทยาที่นักลงทุนทุกคนต้องเข้าใจ

ช่องทางการติดตาม

KEY TAKEAWAYS

  • Anchoring Bias คือการยึดติดกับข้อมูลที่เห็นก่อนเป็นครั้งแรก เมื่อต้องตัดสินใจก็จะเอาข้อมูลแรกเป็นจุดอ้างอิง
  • Sunk Cost ต้นทุนจม ต้นทุนที่เสียไปแล้วไม่ควรนำมาพิจารณาในการลงทุนครั้งต่อไป
  • Confirmation Bias คือการเสพข้อมูลทางเดียว เพื่อยืนยันสิ่งที่ตัวเองเชื่อ
  • Overconfidence หรือความมั่นใจมากที่เกินไป ทำให้เราลงทุนโดยประเมินความเสี่ยงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  • Loss Aversion คือความเกลียดชังการสูญเสีย ซึ่งจะทำให้เรากลัวมากเกินไปจนพลาดโอกาสได้
  • Familiarity Bias อคติทางความคุ้นเคย ที่จะทำให้เราเลือกลงทุนในสิ่งที่คุ้นเคยเป็นหลัก แม้ว่าบางครั้งสิ่งนั้นอาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีอีกต่อไปแล้วก็ตาม
  • Herding Behavior เป็นพฤติกรรมที่คนมักจะทำตามๆ กัน ทำให้เกิดการลงทุนตามกระแส โดยอาจจะไม่ได้หาข้อมูลอื่นใดมาประกอบ

ถ้าพูดถึงเรื่องการลงทุนหลายๆ คนน่าจะนึกถึงเรื่องของตัวเลข การวิเคราะห์ การประเมินความเสี่ยง การบริหารพอร์ตต่างๆ แต่จริงๆ แล้วนอกเหนือไปจากเรื่องของการวิเคราะห์เชิงตัวเลขเหล่านี้แล้ว มีอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันซึ่งนั้นก็คือเรื่องของ ‘จิตวิทยาการลงทุน’

ที่นักลงทุนมือเก๋าหรือมือใหม่ที่เริ่มลงทุนมาสักระยะหนึ่งจะรู้กันดีว่าเรื่องของจิตวิทยาการลงทุน นั้นสำคัญมาก ในบทความนี้เราเลยจะมาพูดถึง 7 จิตวิทยาสำคัญที่อาจทำให้นักลงทุนไขว้เขวในการตัดสินใจได้ และวิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อให้มันมันมีผลกับการตัดสินใจของเราน้อยลง

7 จิตวิทยาการลงทุน
7 จิตวิทยาที่มักจะเกิดระหว่างการลงทุน ลองมาทำความเข้าใจ เพื่อให้รู้เท่าทันและสามารถหลีกเลี่ยงจากมันให้ไกล

Anchoring Bias | อคติในการยึดติดกับข้อมูลที่ได้รับ

Anchor ที่แปลตามความหมายได้ว่า สมอเรือ ที่ใช้ยึดติดเรือให้อยู่กับที่ไม่ไปไหน ซึ่งตรงกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่หลายครั้งเรามักจะยึดติดอยู่กับ “ข้อมูล” บางอย่างที่เราได้รับมา เช่น ถ้าเราเคยเห็นว่านาฬิกาเรือนหนึ่งเคยตั้งขายอยู่ที่ 100,000 บาท เราก็จะจดจำว่านาฬิกาเรือนนี้รุ่นนี้ต้อง 100,000 บาท และเมื่อมันลดราคาลงมาเหลือ 70,000 บาท เราก็จะรู้สึกว่ามันถูกจังแบบนี้ต้องรีบซื้อแล้วล่ะ

ซึ่งอาจจะทำให้เราไม่ได้ประเมินมูลค่าจริงๆ ของนาฬิกาเรือนนั้นว่ามันควรที่จะราคา 70,000 บาท จริงๆ ไหม หรือมันเคยขายที่ 100,000 บ้างหรือเปล่า หรือเขาแค่ตั้งราคาสูงไว้เพื่อจัดโปรโมชั่น

Daniel Kahneman, Amos Tversky
แดเนียล คาห์นะแมน (Daniel Kahneman) และเอมอส ทเวิร์สกี (Amos Tversky) สองนักจิตวิทยาชาวอิสราเอลผู้มีผลงานด้านจิตวิทยามากมาย | ภาพจาก Thinkingheads และ Twitter

หรืออย่างในงานทดลองชิ้นหนึ่งของ นักจิตวิทยาชาวอิสราเอลแดเนียล คาห์นะแมน (Daniel Kahneman) และเอมอส ทเวิร์สกี (Amos Tversky) ที่ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับ Anchoring Trap ว่าสิ่งนี้มีผลต่อการตัดสินใจของเราจริงหรือไม่

โดยผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกถามว่า มีประเทศในทวีปแอฟริกาที่เป็นสมาชิกของ United Nations (UN หรือ องค์การสหประชาชาติ) อยู่ทั้งหมดกี่เปอร์เซ็นต์ แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้เปอร์เซ็นต์ที่ถูกต้องอย่างแน่นอน แต่ก่อนที่จะให้เดาคำตอบ เขาได้ให้ผู้เข้าทดลองหมุนวงล้อที่มีเลข 10 และ 65

ผลปรากฎว่ากลุ่มผู้เข้าทดลองที่หมุนวงล้อได้เลข 10 จะเดาคำตอบเฉลี่ยอยู่ที่ 25 ในขณะที่กลุ่มที่หมุนวงล้อได้ 65 จะเดาคำตอบเฉลี่ยอยู่ที่ 45 นั่นหมายถึงผู้เข้าทดลองทั้งสองกลุ่มนี้ติดกับตัวเลข 10 และ 65 ที่พวกเขาเจอก่อนที่จะเดาคำตอบนั่นเอง

แน่นอนว่าความลำเอียงแบบนี้ถ้าเกิดขึ้นกับการตัดสินใจซื้อนาฬิกาหรือข้อมูลประเทศก็คงจะไม่มีผลอะไร แต่ถ้ามันเกิดขึ้นกับการลงทุนของเราแล้วล่ะก็คงไม่ใช่เรื่องดีนัก

ตัวอย่างเช่นในวงการคริปโต กระดานเทรดยักษ์ใหญ่อันดับสองของโลกอย่าง FTX ที่มีเหรียญ FTT เป็น Native Token (เหรียญหลักของระบบ) ที่เคยซื้อขายกันที่ 30 ดอลลาร์ ไม่กี่วันก่อนที่จะประกาศล้มละลาย ถ้าเราเข้าซื้อในจุดนั้น และปล่อยให้ Anchoring Bias บังตาเรา เราก็จะอาจจะคิดว่าเดี๋ยววันหนึ่งมันก็อาจจะกลับมาเพราะตอนที่เราซื้อนั้น เขาซื้อขายกันที่ 30 ดอลลาร์ และก่อนหน้านั้น FTT ก็ยังเคยมีราคาถึง 84 ดอลลาร์มาแล้วด้วย แต่อย่างที่เรารู้กันว่าตอนนี้ FTT คงไม่กลับมาแล้ว

ตัวอย่าง FTX อาจจะดูสุดโต่งไปบ้าง แต่ถ้ายกตัวอย่างอีกเหรียญที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง LUNA แล้วล่ะก็ หลายคนอาจจะคุ้นเคยมากขึ้น เพราะครั้งหนึ่งเหรียญ LUNA เคยซื้อขายกันอยู่ที่ราคา 119 ดอลลาร์ และมีผู้ชื่นชอบโปรเจกต์นี้อยู่ทั่วโลก แต่หลังจากที่ความผิดพลาดของการออกแบบระบบเผยออกให้เห็น ราคาก็รูดลงอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่ามีคนที่ตัดสินใจขายในทันที แต่ก็มีอีกหลายคนที่สูญเสียเงินจากการเข้าไปช้อนซื้อ เพราะเชื่อว่ามันจะกลับมา และสำหรับคนที่ยังถือไว้นั้นมูลค่าก็หายไปเกือบจะ 100%

วิธีหลีกเลี่ยง : การลงทุนทุกอย่างนั้นเราควรพิจารณาข้อมูล ณ ตอนที่เราพิจารณา (Mark to the market) “โดยไม่อิงต้นทุนว่าเราซื้อมาเท่าไหร่” อย่าติดกับดักของ anchoring trap ด้วยการยึดติดกับราคาที่เราซื้อมา เช่น ถ้าเหตุการณ์เปลี่ยน บริษัทไม่ได้ดีเหมือนอย่างเคย แต่เรายังดันทุรังเชื่อว่าหุ้นที่เราซื้อจะกลับมาที่ราคาที่เราเคยซื้อ โดยที่เราไม่สามารถหาข้อมูลมาซัพพอร์ตได้เลย ก็อาจจะทำให้เราตัดสินใจไม่ขาย หรือหรือพลาดโอกาส Cutloss (การยอมขายขาดทุนก่อนที่จะขาดทุนไปมากกว่านี้) และขาดทุนหนักได้

Sunk Cost | อคติต้นทุนจม

ขอยกตัวอย่างที่ทุกคนน่าจะเห็นภาพได้ดีที่สุดก็ คือ เรื่องการดูหนัง สมมุติว่าเราอยากที่จะดูหนังเรื่องหนึ่งมาก และในที่สุดเราก็ตัดสินใจซื้อตั๋วหนังที่อยากดูมาในราคา 300 บาท และหลังจากเข้าไปดูได้ครึ่งเรื่องเราก็ได้พบว่าหนังเรื่องนี้ไม่สนุกเอาเสียเลย…

แต่เราก็ยังพยายามที่จะนั่งดูอยู่แบบนั้นจนจบโดยที่ไม่ลุกออกไป เพราะเรารู้สึกว่าเราได้จ่ายเงินเข้ามาแล้ว และเราก็ดูมาตั้งครึ่งเรื่องแล้วด้วย ไหนๆ ก็ขอดูให้จบเลยละกัน

ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้เองที่เรียกว่า ‘Sunk Cost’ หรือ ‘คติต้นทุนจม’

เพราะตั๋วหนังที่เราเสียไปแล้ว 300 บาท นั้นยังไงก็ไม่มีทางได้คืน (Sunk Cost) แต่เวลาอีก 60 นาที จากหนังครึ่งเรื่องที่ไม่สนุกนั้นเรายังเอาไปทำอย่างอื่นได้นั่นเอง

ในเชิงของการลงทุนบางครั้งเราก็อาจจะมีความคิดนี้เข้ามาในหัวได้โดยไม่รู้ตัวด้วยเช่นกัน เช่น เราได้เข้าไปซื้อเหรียญตัวหนึ่งสมมุติว่าชื่อ LUNER และเราเข้าซื้อในราคา 100$ หลังจากนั้นไม่นานหลังจากเราซื้อก็เริ่มมีข่าวไม่ดีออกมา เกี่ยวกับช่องโหว่และปัญหาของอัลกอริทึมที่เสี่ยงทำให้โปรเจกต์พังได้เลย ส่งผลให้ราคาลดลงมาอยู่ที่ 50$ แล้ว ทำให้ในตอนนี้เราขาดทุนไปแล้ว 50$

คำถาม คือ เราจะตัดขายตอนนี้ หรือ ถือไว้เพื่อรอราคามันกลับมา (ซึ่งกลับหรือไม่ก็ยังไม่รู้) แต่ไม่ว่าเราจะเลือกทางไหนก็ตาม ถ้าหากเราตัดสินใจโดยเอาต้นทุนที่ได้เสียไป 50$ มาคิดหรือให้น้ำหนักด้วยนั้นหมายถึงเรากำลังติดอยู่กับ Sunk Cost นั้นเอง

เพราะ 50$ ได้คืนหรือไม่ก็ไม่รู้ และถ้าโปรเจกต์นั้นชื่อ LUNA ด้วยละก็ไม่ได้คืนแน่ๆ แต่อีก 50$ นั้นยังเป็นเงินของเรา ซึ่งสามารถเอาไปลงทุนอย่างอื่นได้

ด้วยอคติแบบนี้นี่เองที่บางครั้งก็ทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสในการลงทุนหุ้น หรือเหรียญอื่นๆ ที่น่าสนใจ เพียงเพราะว่าไม่อยากสูญเสียต้นทุนเหล่านั้นไปฟรีๆ (ทั้งๆ ที่เสียไปแล้ว)

วิธีหลีกเลี่ยง : ใช้วิธีเดียวกับ Anchoring Bias ได้เลย คือประเมินทุกอย่าง ณ ปัจจุบัน โดยพยายามอย่าให้น้ำหนักกับเงินที่ได้เสียไปแล้ว หรือตัวเลขที่กำลังติดลบอยู่ของพอร์ตหรือ Position

Confirmation Bias | อคติจากการพยายามยืนยันข้อมูลของตนเอง

‘ใครๆ ไม่ก็อยากรู้สึกว่าตัวเองคิดผิด’ เพราะทุกครั้งที่เราคิดผิดเราคงไม่ได้รู้สึกดี แต่เราจะรู้สึกแย่ว่าเพราะอะไรกันนะฉันถึงผิด หรือบางทีเราก็อาจจะกลัวเสียหน้า หรือรู้สึกว่าเราไม่เก่ง ทำให้หลายครั้งเมื่อเราต้องตัดสินใจ หรือโต้เถียงในห้องประชุม แทนที่เราจะหาข้อมูลมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจให้ดีที่สุด เรากลับหาข้อมูลมายืนยันว่า ‘ตัวเราเองนั้นคิดถูก’

พฤติกรรมนี้ทำให้นักลงทุนมองข้ามข้อเท็จจริงอันหลากหลายที่อาจจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ เพียงเพราะว่ามันไม่ตรงกับความเชื่อของตนเอง และส่งผลให้ผู้ลงทุนมีความมั่นใจมากเกินไป และยึดติดอยู่กับบริษัทหรือโปรเจกต์ (เหรียญ) เพียงไม่กี่อัน แน่นอนว่ามันค่อนข้างเสี่ยง และในขณะเดียวกันเราก็พลาดโอกาสอื่นๆ เพราะเราคิดว่า ‘ที่เราเลือกมานี้ดีสุดแล้ว ไม่มีดีกว่านี้หรอก’ และหาข้อมูลมายืนยันว่าตัวเองคิดถูกไปเรื่อยๆ

วิธีหลีกเลี่ยง : พยายามฝึกตัวเองให้เป็นคนที่ไม่ถามข้อมูลเพื่อยืนยันความคิดของตัวเอง แต่จงถามเพื่อมองหาข้อเท็จจริง พยายามเปิดรับความคิดเห็นที่ตรงกันข้าม โดยเฉพาะคนที่เห็นต่างจากเราดูบ้าง หรือความคิดที่เราอาจจะไม่เห็นด้วยเลยแม้แต่น้อย และมาพิจารณาให้ดีว่าเราพลาดอะไรไปหรือเปล่า

การฝึกลด Confirmation Bias จะทำให้เราสามารถที่จะประเมินมูลค่าของการลงทุน บริษัท และโปรเจกต์ต่างๆ ด้วยความคิดที่เป็นกลางได้ดีมากขึ้น

Overconfidence | มั่นใจเกินไป

อันที่จริงพฤติกรรมแบบมั่นใจมากเกินไปนี้ไม่เพียงพบในหมู่นักลงทุนเท่านั้น แต่ยังพบกระจายอยู่ทั่วไปในทุกสาขาอาชีพ เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับความมั่นใจชิ้นหนึ่งที่ชื่อว่า ‘Confidence in the recognition and reproduction of words difficult to spell’ (ความมั่นใจในการจดจำและสะกดคำยาก)

โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองจำคำก่อนที่จะทดสอบ โดยส่วนมากผู้เข้าร่วมทดลองมักจะบอกว่าตนเองนั้นสามารถที่จะสะกดคำยากเหล่านั้นได้ถูกต้อง 100% แต่หลังจากการทดสอบผลปรากฎว่า ผู้เข้าทดลองสามารถสะกดคำได้ถูกต้องเพียง 80% เท่านั้น แน่นอนว่ามีการทดลองในลักษณะนี้อีกจำนวนมากที่บ่งชี้ว่า ‘เรามักจะประเมินตัวเองสูงหรือต่ำเกินไปเสมอ’ เมื่อเทียบกับความสามารถที่แท้จริงของเรา

“ความมั่นใจเป็นเรื่องดี แต่ถ้ามากเกินพอดีก็อันตราย”

ยกตัวอย่างเช่น เราไปเจอหุ้นตัวหนึ่งและเรารู้สึกว่าเรามั่นใจมากๆ จนทุ่มแบบหมดหน้าตัก พร้อมกับใช้ Leverage หรือ Margin หนักๆ แน่นอนว่าถ้าเราคิดถูกเราก็จะรวยแบบเปลี่ยนชีวิตในชั่วข้ามคืนได้เลย แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเราผิดนั้นหมายถึงหายนะ เพราะเราอาจจะสูญเสียจนหมดตัว

วิธีหลีกเลี่ยง : ทุกครั้งที่เรากำลังรู้สึกมั่นใจมากๆ ในการลงทุน ให้เราลองถามตัวเองดูว่า สัดส่วนในการลงทุนครั้งนี้ถ้าเกิดผิดพลาดจะเกิดอะไรขึ้น เราจะรับได้ไหม หรือถ้าเราใช้ความเสี่ยงมากๆ เรามีเหตุผลที่ดีมากพอไหมที่จะไม่บาลานซ์ความเสี่ยงใหม่

Loss Aversion | ความเกลียดชังการสูญเสีย

ในโลกของการลงทุน ไม่มีการลงทุนไหนที่ไม่เสี่ยง เพราะแม้แต่คนที่เก่งที่สุดในโลกของการลงทุนก็ยังเคยพลาดและสูญเสีย แต่จะมีบางครั้งที่นักลงทุนไม่สามารถยอมรับการขาดทุนหรือสูญเสียเงินทุนบางส่วนไปได้เลย นั่นคืออาการ Loss Aversion

ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เราจะทุกข์ใจหากเสียเงิน มากกว่าความสุขที่เราได้รับเงิน พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็ คือ ‘การไม่เสีย 100 ดอลลาร์ ดีกว่าการได้รับ 100 ดอลลาร์’

พฤติกรรมนี้ค้นพบโดยสองนักจิตวิทยา แดเนียล คาห์นะแมน (Daniel Kahneman) และเอมอส ทเวอร์สกี (Amos Tversky) ซึ่งสรุปงานวิจัยของพวกเขาออกมาเป็นแนวคิดสั้นๆ ว่า “การสูญเสียยิ่งใหญ่กว่าการได้รับ (losses loom larger than gains” (Kahneman & Tversky, 1979))”

ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายได้ด้วยกราฟนี้

Loss Aversion Graph
กราฟแสดงความรู้สึกจากการสูญเสียและการได้รับ ตามทฤษฎีความคาดหวังและการเกลียดชังความสูญเสีย | แหล่งข้อมูล Economicshelp

จะเห็นได้ว่าเงินจำนวน 100 ดอลลาร์จะส่งผลต่อความรู้สึกเราไม่เท่ากันในกรณีที่สูญเสียและในกรณีที่ได้รับ หากเราได้รับเราจะรู้สึกมีความสุขประมาณหนึ่ง แต่ถ้าหากเราสูญเสียเงิน 100 ดอลลาร์ ที่เราเคยเป็นเจ้าของ เราจะรู้สึกมีความทุกข์มากกว่าการได้รับประมาณสองเท่า

Loss Aversion สามารถส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของเรา ความกลัวที่จะสูญเสียอาจปิดกั้นเราจากความเสี่ยงที่คำนวณมาอย่างดีว่าการลงทุนนี้คุ้มที่จะเสี่ยงและมีโอกาสที่จะสร้างกำไรอย่างมากให้กับเรา

วิธีการหลีกเลี่ยง : วิธีการหลีกเลี่ยงในข้อนี้ค่อนข้างคล้ายกับเวลาที่เรามั่นใจมากเกินไป เพราะในกรณีของ Loss Aversion เราก็กำลังกลัวมากเกินไป ฉะนั้นลองพิจารณาเรื่องความเสี่ยงให้มาก ดูว่าเรารับได้ไหม ถ้าเราสูญเสียเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเราพลาดเรายังไปต่อได้ไหม

Familiarity Bias | อคติจากความคุ้นเคย

งานวิจัยของชิพ ฮีท (Chip Heath) และเอมอส ทเวิร์สกี (Amos Tversky) ได้ทดลองให้ผู้คนเลือกพนันในสองตัวเลือก และก็พบคนเรามักจะมีแนวโน้มที่จะเลือก ‘พนันกับสิ่งที่คุ้นเคยมากกว่า’ แม้ว่าโอกาสชนะต่ำกว่าก็ตาม
นั่นเป็นเพราะว่าการคิดวิเคราะห์ สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยนั้น เป็นเรื่องยากที่ใช้พลังงานมาก นักลงทุนส่วนใหญ่จึงมักโน้มเอน ศึกษาและลงทุนในสิ่งที่คุ้นเคยมากกว่า เช่น หุ้นที่เคยเห็นมาก่อน เหรียญที่เคยใช้มาก่อน หรือสินค้าที่เราเคยใช้ แน่นอนว่าก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรอะไร และหลายครั้งก็เป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่เราเข้าใจมากกว่าคนอื่นๆ ในตลาด เพราะเราคุ้นเคย และเคยใช้บริการ ทำให้การประเมินต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น

แต่… ถ้าเราเลือกการลงทุนจากสิ่งที่คุ้นเคยเป็นหลัก และสิ่งที่เราคุ้นเคยนั้นไม่ใช่อุตสาหกรรมที่มีอนาคตอีกต่อไปแล้วล่ะ

วิธีหลีกเลี่ยง : อย่างแรกเลยคือเราต้องยอมรับให้ได้ก่อนว่า ‘สิ่งที่คุ้นเคย’ ไม่เท่ากับ ‘ดี’ เสมอไป และลองเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ลองศึกษาในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่คุ้นเคยดูบ้าง เพราะบางครั้งโอกาสก็อาจจะอยู่นอกวงจากสิ่งที่เรารู้สึกคุ้นเคย

Herding Behavior | การทำตามฝูงชน

ถ้าหากว่าเรากำลังเดินผ่านร้านอาหารสักหนึ่งแห่ง และเห็นว่ามีคนต่อแถวเข้าคิวและมุงกันอยู่ เป็นธรรมดาที่เราจะต้องเผลอคิดไปในใจว่า ‘ร้านนี้ต้องอร่อยแน่’ แม้ว่าเราจะไม่เคยกินร้านนั้น และไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับร้านนั้นเลย ซึ่งพฤติกรรมทางจิตวิทยานี้เองที่เรียกว่า Herding Behavior หรือ ‘พฤติกรรมการทำตามฝูงชน’

Herding Behavior
Herding Behavior หรือพฤติกรรมการลงทุนตามคนอื่นโดยไม่หาข้อมูลเอง ทำให้เกิดอาการ Fomo และนำไปสู่การขาดทุน

และบางครั้งนักลงทุนเองก็มีพฤติกรรมการทำตามฝูงชนด้วยเช่นกัน (ทั้งที่จงใจตามและตามโดยไม่รู้ตัว) ซึ่งหลายคนน่าจะเคยเห็นกันมาบ้างแล้ว เช่น กับหุ้นหรือเหรียญตัวที่เป็นกระแสมากๆ แล้วคนก็แห่เข้าไปซื้อ เข้าไปไล่ราคากัน เพราะรู้สึกว่า ‘ใครๆ ก็ทำกัน’ หรือ ‘ใครๆ ก็ซื้อตัวนี้’

ยิ่งถ้ามีแรงเชียร์จากบรรดาเซียน หรือ influencer ด้วยแล้วล่ะก็ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะการซื้อตามๆ กัน ไม่ว่าจะซื้อตามเซียน ตามคนดัง หรือซื้อตามกระแสนั้น มีโอกาสน้อยมากที่จะทำให้นักลงทุนสามารถกำไรและอยู่ในตลาดได้นาน (ถ้าได้ก็ต้องเรียกได้ว่าโชคดีสุดๆ) เพราะการซื้อตามโดยส่วนใหญ่นั้น ผู้ซื้อแทบไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราเข้าซื้อเพราะอะไร จะถือนานแค่ไหน ถ้าเหตุการณ์เปลี่ยนจะทำอย่างไร

วิธีการหลีกเลี่ยง : ถ้าเราเจอหุ้นหรือเหรียญที่รู้สึกว่าตัวนี้ใครๆ ก็เล่น ใครๆ ซื้อ และรู้สึกว่าอยากขึ้นรถมากๆ เพราะกลัวที่จะตกรถ ให้ถามตัวเองเลยว่า เรามีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับสิ่งนี้บ้าง เราวางแผนที่จะเข้าซื้อในราคาไหน ออกเมื่อไหร่ ถ้าผิดพลาดจะทำอย่างไร อย่าเพิ่งรีบกระโดดขึ้นรถโดยที่ไม่รู้ปลายทาง เพราะบางครั้งรถที่เรากำลังจะขึ้นนั้นอาจจะขับพาเราลงเหวก็ได้

ทั้งหมดนี่คือ 7 กับดักทางจิตวิทยาที่นักลงทุนต้องหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอๆ ว่าเรากำลังติดกับดักเหล่านี้อยู่หรือไม่ เพราะเรื่องของการลงทุน และเรื่องของจิตวิทยานั้นเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออกจริงๆ

เหมือนกับที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffet) เคยกล่าวไว้ว่า “If you cannot control your emotions, you cannot control your money – ถ้าคุณควบคุมอารมณ์ของตัวเองไม่ได้ คุณก็ควบคุมเงินของคุณไม่ได้เช่นกัน”

References: Investopedia(1), Investopedia(2), Investopedia(3), Investopedia(4), Investopedia(5), Morningstar, Thedecisionlab, Currency


Credits
Content Creator : ประเสริฐ หงษ์สุวรรณ, กนกศักดิ์ เรือนทอง
Graphic Designer : ศุภัชฌา ใช้สติ
Admin : ณิชากร วิทยาวิวัฒน์สกุล
Editor : ประเสริฐ หงษ์สุวรรณ
Enter to Start Team
Enter to Start Teamhttps://entertostart.co
ทีมคนสร้างสื่อที่ตั้งใจจะสร้างพื้นที่แห่งการแบ่งปันข้อมูลในโลกธุรกิจ การลงทุน และคริปโต เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ผ่านคอนเทนต์ที่ย่อยง่าย เข้าใจได้ไม่ยาก

เรื่องยอดนิยมวันนี้

เรื่องยอดนิยม 7 วัน

เรื่องยอดนิยมวันนี้ | POPPULAR TODAY

เรื่องยอดนิยม 7 วัน | POPPULAR IN 7 DAYS

“MARVELS BANGKOK 2023” อีเวนต์สำหรับผู้สนใจในคริปโตและบล็อกเชน พบกัน 20 ตุลาคมนี้

“เวิลด์ เว็บ 3.0 เอ็น เอ็ฟ ที เมตา มาร์เวล กรุงเทพฯ 2023” หรือ “World Web 3.0 NFT META MARVELS Bangkok 2023” เรียกสั้น ๆ ว่า “MARVELS BANGKOK 2023” เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่ประเทศเกาหลี เวียดนาม และไทย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของวงการบล็อกเชนที่แข็งแรง

Artifact Lab ประกาศปิดการระดมทุนรอบ Pre-Seed 2 ล้านดอลลาร์ นำโดย RW3 Ventures และ IOSG Ventures 

Artifact Lab แพลตฟอร์มข้อมูลผู้ใช้ในเกมและการสร้างรายได้รุ่นใหม่ ร่วมมือกับนักลงทุน Web3 ชั้นนำเพื่อเร่งการเติบโตอย่างรวดเร็ว Artifact Lab แพลตฟอร์มรุ่นใหม่ที่จะมาปฏิวัติวิธีการสร้างรายได้ของเกมมือถือในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยความเป็นส่วนตัว มีความยินดีที่จะประกาศว่าสามารถระดมทุนรอบ pre-seed ได้ 2 ล้านดอลลาร์ นำโดย RW3 Ventures และ IOSG Ventures และมี Raptor Group, Cypher Capital...

ความหวังใหม่ในวงการคริปโต หลัง Rishi Sunak นั่งตำแหน่งนายกฯ คนใหม่แห่งอังกฤษ

Rishi Sunak นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษเป็นผู้ที่ชื่นชอบคริปโต ดังนั้นนักลงทุนจึงหวังว่าจะมีสัญญาณที่ดีต่อตลาดคริปโต

นักลงทุนรายใหญ่ซื้อตราสารหนี้สูงสุดนับจากปี 2008 หลังจากที่ในปีนี้มีการเทขายครั้งใหญ่ในรอบ 32 ปี

เงินเฟ้อทำให้ปีนี้มีการเทขายตราสารหนี้สูงเป็นประวัติการณ์ แต่เมื่ออัตราผลตอบแทนเริ่มสูงขึ้น นักลงทุนก็กลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง

FED เตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงของ CeFi และ DeFi ของคริปโตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

งานวิจัย FED ระบุว่า ระบบนิเวศคริปโตถือว่ามีแนวโน้มที่จะมีช่องโหว่การเงิน รวมถึงเสถียรภาพการเงินไม่มั่นคง ทำให้เกิดความเสี่ยง

ตั้งแต่ต้นปี! Orbit Bridge ของ Orbit Chain โดนแฮ็กความเสียหาย 81.5 ล้านดอลลาร์

Orbit Bridge ซึ่งเป็นโปรโตคอล bridge ข้ามเชน มีเงินไหลออกอย่างผิดปกติถึง 81.5 ล้านดอลลาร์ ในหลายสกุลเงินคริปโต ซึ่งน่าจะเป็นการแฮ็กครั้งใหญ่ Kgjr ผู้ใช้ X (ทวิตเตอร์เดิม) เป็นผู้สังเกตเห็นการแฮ็กครั้งนี้ โดยพบว่า Orbit Bridge ส่งเงิน 50 ล้านดอลลาร์ ในรูปของ stablecoins (30 ล้าน...

ทำความรู้จัก Notcoin (NOT) เหรียญบน Telegram ที่จิ้มแล้วได้เงิน

Notcoin (NOT) เริ่มจากเกมบน Telegram ที่สร้างโดย Open Builder ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปรู้จักกับโลก Web3 ผ่านกลไกการขุดเหรียญแบบ tap-to-earn (จิ้มหน้าจอแล้วได้เงิน) ด้วยวิธีการเล่นและได้เงินที่ง่ายแสนง่าย ทำให้มียอดผู้เล่นกว่า 35 ล้านราย และยอด active user 6 ล้านราย ต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวทำให้ Notcoin จัดเป็นหนึ่งในเกมคริปโตที่เป็นที่นิยมมากที่สุด...

Arkham Intelligence เผยมีผู้ได้รับ airdrop Ethena มูลค่าเกือบ 2 ล้านดอลลาร์

พบผู้โชคดีได้รับ airdrop จาก Ethena Labs มูลค่าเกือบ 2 ล้านดอลลาร์ จากการแจก Ethena (ENA) เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา Arkham Intelligence ระบุว่า ผู้โชคดีดังกล่าวเป็นเจ้าของกระเป๋า 0xb56 ได้รับ 3.3 ล้าน Ethena คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.96...

Dogecoin เป็นของ Elon Musk? เปิดประวัติผู้สร้าง Dogecoin ตัวจริง

Dogecoin สุดยอดเหรียญมีมที่ทุกคนในโลกคริปโตต่างรู้จัก และน่าจะเป็นเหรียญมีมที่โด่งดังที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้สนใจในคริปโต Dogecoin เคยช่วยพลิกสถานะทางการเงินของหลายคน ทำให้หลายคนร่ำรวยขึ้นมา เพียงแต่ผู้ที่สร้างเหรียญนี้กลับไม่ได้รับอะไรเช่นนั้นเลย เพราะอะไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เรามาหาคำตอบกัน

Wormhole เผยรายละเอียด Tokenomic กลุ่มไหนได้เท่าไหร่ดูได้ที่โพสต์นี้

Web3 มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมอินเทอร์เน็ตที่โปร่งใส trustless เปิดกว้าง และปลอดภัย วิสัยทัศน์นี้พึ่งพา ecosystem ที่ปลอดภัยและเชื่อมต่อกันอย่างราบรื่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ Web3 ecosystem ต้องการโปรโตคอลการส่งข้อความพื้นฐานที่ปลอดภัย decentralized ลดการ trust ลงให้น้อยที่สุด และเป็นโอเพ่นซอร์ส เมื่อ 3 ปีที่แล้ว Wormhole (@wormholecrypto) เปิดตัวโปรโตคอลการส่งข้อความทั่วไปตัวแรกที่เชื่อมต่อกับ Ethereum...

Richard Teng เผยเส้นทางจากการกำกับดูแลสายการเงินสู่ซีอีโอ Binance

เมื่อคืนที่ผ่านมา คุณ Richard Teng ซีอีโอของ Binance ได้ออกมาพูดถึงเรื่องราวการเดินทางจากสายการเงินแบบดั้งเดิมสู่โลก Web3 ใน Ask Me Anything โดย CoinMarketCap คุณ Richard ระบุว่า ตัวเค้ามาจากสายการเงินแบบดั้งเดิมและทำหน้าที่ในหน่วยงานกำกับดูแลเป็นส่วนใหญ่ แต่จุดเปลี่ยนก็มาถึงในปี 2017 ที่เค้าเดินทางไปสัมมนาในสหรัฐและได้เจอกับคนในวงการคริปโตมากมาย ซึ่งนั่นสร้างความสนใจให้กับเขา เพราะในมุมมองของคุณ Richard นั้น...

คึกคักสุด ๆ! ปริมาณซื้อขาย Spot Bitcoin ETF วันแรก พุ่งทะลุ 4.5 พันล้านดอลลาร์

Cointelegraph รายงานว่า ปริมาณการซื้อขาย Spot Bitcoin ETF ในวันแรกพุ่งทะลุ 4.5 พันล้านดอลลาร์ โดย ETF ของ BlackRock, Grayscale และ Fidelity มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด ขณะเดียวกัน ETF ของ Hashdex ยังไม่สามารถซื้อขายได้เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ของสหรัฐยังไม่ได้อนุมัติแบบฟอร์ม...

บทความที่เกี่ยวข้อง | RELATED ARTICLE

Tradoooor 101 : ทำอย่างไรให้ไม่เทรดด้วยอารมณ์

เคยไหม กับการที่คุณเข้าไปทำการซื้อหรือขายเหรียญด้วยความรู้สึกที่อยากจะเอาชนะหลังจากเสียมาติดๆ กัน จนไม่สนใจแบบแผนหรือวิธีการที่คุณใช้อยู่เป็นประจำ ? แล้วผลลัพธ์เป็นยังไงหล่ะ ส่วนใหญ่ก็คงจะจบลงที่คุณเสียเงินทุนของคุณเพิ่มเข้าไปอีก มีน้อยครั้งที่คุณจะได้คืน สาเหตุเป็นเพราะคุณเทรดด้วยการใช้อารมณ์นำ ซึ่งมันก็ไม่ต่างอะไรกับการที่คุณแทงหัวก้อย การเทรดอย่างมีสติหมายความว่าอย่างไร ? เมื่อคุณเข้ามาทำการเทรด ความรู้สึกที่มีอยู่ตอนนั้นส่งผลต่อการตัดสินใจของคุณได้ สิ่งนี้เรียกว่าจิตวิทยาการซื้อขาย เช่นเมื่อคุณโลภ คุณก็อาจจะใช้เงินที่มากขึ้นมาการเทรด หรือตอนที่คุณกลัว คุณก็จะขายเหรียญคุณออกไปอย่างรวดเร็วเพราะกลัวว่าจะถือไปนานมันจะขาดทุน อารมณ์ของเทรดเดอร์ที่มักจะเห็นกันบ่อยๆ คือ FOMO (Fear Of Missing Out) หรืออาการกลัวตกรถนั้นเอง...

ปรากฏการณ์ Tulip Mania เมื่อดอกไม้แพงกว่าบ้าน

หลายคนอาจจะไม่เชื่อว่า เคยมีอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ที่ราคาของดอกทิวลิป จะแพงกว่าบ้านหนึ่งหลังเสียอีก และนี้คือเรื่องราวของ Tulip Manin ที่เกิดขึ้นเมื่อ 400 กว่าปีก่อน ย้อนกลับไปที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ในช่วงปี 1600 ซึ่งในตอนนั้นเขาเรียกกันว่า Dutch Golden Age เนื่องจากในช่วงเวลานั้น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงที่สุดในโลก นักค้าขายข้ามชาติเจริญรุ่งเรืองสุดขีด และด้วยความที่ประชากรรวยกันมาก ทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยเป็นที่นิยม ดอกทิวลิปกลายเป็นดอกไม้ที่ผู้คนต่างต้องการ เนื่องจากมีสีและลวดลายที่แปลกตา และมันได้กลายเป็นหนึ่งในสินค้าฟุ่มเฟือยที่ขายดีแบบสุดๆ  ราคาของดอกทิวลิปพุ่งแซงรายได้ต่อเดือนของช่างฝีมือที่ชำนาญงาน และในช่วงจุดสูงสุด...

เส้นทางของ Optimism สู่การ Decentralized ทางเทคนิค

Key Insights ที่ผ่านมา Optimism ดำเนินการแบบ centralized โดยล็อกตัวควบคุมสำคัญไว้ใน Optimism Foundation เหนือ sequencer การตัดสินใจด้านการกำกับดูแล และ upgrade keys  การ decentralized อาจเป็นอันตรายและเร็วเกินไปด้วยการเปิดตัว sequencer เพิ่มเติม การกำกับดูแลแบบ decentralized ซ้ำ ๆ และทิ้งการควบคุมด้วย upgrade...

ตลาดขาขึ้นสุดซู๊ด พร้อมวิธีตรวจจับ Bull Market

เช่นเดียวกับการนั่งรถไฟเหาะตีลังกา ตลาดการเงินมีทั้งขาขึ้น ขาลง และแบบแบน ความเคลื่อนไหวของกิจกรรมทางการตลาดนี้เรียกว่า “แนวโน้มของตลาด” โดยทั่วไปแล้ว มีแนวโน้มอยู่สามประเภท ได้แก่ Bullish, Bearish และ Sideways ลองนึกภาพว่าคุณกำลังเล่นวิดีโอเกมโดยที่ตัวละครของคุณกำลังวิ่งขึ้นคือ Bullrish และ Bearish คือการที่ตัวละครของคุณวิ่งลง ส่วนตอนที่ตัวละครกำลังยืนเฉยๆ คือ Sideways แนวโน้มเหล่านี้เป็นเหมือนแผนที่ของเกม ทำให้คุณรู้ว่าคุณกำลังมุ่งหน้าไปที่ใด แต่อย่าลืมว่าแผนที่ที่ว่านั้นไม่ใช่เขตแดนของคุณ การพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ...

คู่มือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) สำหรับมือใหม่

จินตนาการว่าคุณกำลังก้าวเข้าสู่โลกแห่งการลงทุน เป็นโลกที่เต็มไปด้วยหุ้นอายุหลายศตวรรษและสกุลเงินดิจิทัลอายุน้อยที่ล้ำสมัย และมันไม่มีสูตรลับสำหรับความสำเร็จ หากสูตรดังกล่าวมีอยู่จริง มันก็คงจะอยู่ในห้องใต้ดินของผู้บงการแห่ง Wall Street สำหรับพวกเรานักลงทุน เรามีเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายอยู่ที่ปลายนิ้วสัมผัส เทคนิคเหล่านี้แบ่งออกเป็นสองเทคนิคหลักคือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis : FA) และการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis :TA)  วันนี้เราจะมาเรียนรู้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานกัน ไขปริศนาการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis : FA) การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นเทคนิคที่นักลงทุนใช้ในการกำหนดมูลค่าโดยธรรมชาติของสินทรัพย์หรือบริษัท พวกเขาตรวจสอบปัจจัยทั้งภายในและภายนอกอย่างระมัดระวังเพื่อตัดสินใจว่าสินทรัพย์หรือธุรกิจมีราคาสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ข้อมูลที่รวบรวมได้จากวิธีนี้สามารถช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ที่มีแนวโน้มที่จะได้รับผลตอบแทนสูง สมมุติว่าคุณสนใจบริษัทใดบริษัทหนึ่ง...

Timeline ย้อนรอยราคา Bitcoin

Bitcoin ร่วงจากจุดสูงสุดไปอยู่ที่ประมาณ 15,500 ในเดือนพฤศจิกายน 2021 และใช้เวลาประมาณ 1 ปีพุ่งขึ้นมา 130% สู่ระดับ 36,000 ดอลลาร์ ในปัจจุบัน ในช่วงเวลา 1 ปีนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ถอดรหัสการทำงานของระบบเศรษฐกิจ

ลองนึกภาพถึงโลกที่หมุนรอบการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน และผลิตสินค้า โลกนี้เรียกว่าเศรษฐกิจ เป็นระบบสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อชิวิตเรา ตั้งแต่การซื้อขนมยี่ห้อโปรด ไปจนถึงการชำระค่าสมัครสมาชิก Netflix รายเดือน เมื่อพูดถึงเศรษฐกิจ อาจหมายถึงพื้นที่ของการผลิต บริโภค และค้าขาย วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงสาระสำคัญของสิ่งที่ทำให้เศรษฐกิจทำงานได้ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากแบบจำลองของ Ray Dalio ใครเป็นคนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ? ตัวคุณเอง เพื่อน พ่อแม่ เจ้าของร้านตามสั่ง ไปจนถึงรัฐบาล เราทุกคนต่างมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ สิ่งนี้เกิดขึ้นทุกวันเมื่อเราซื้อของ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง | RELATED NEWS

JPMorgan ปรับเพิ่มราคาประเมินต้นทุนขุด Bitcoin เป็น 45,000 ดอลลาร์

JPMorgan ปรับเพิ่มราคาประเมินต้นทุนการขุด Bitcoin จากเดิม 42,000 ดอลลาร์ ต่อ Bitcoin เป็น 45,000 ดอลลาร์ ต่อ Bitcoin เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ hashrate ในการขุด Bitcoin ทีมนักวิเคราะห์ของ JPMorgan นำโดย Nikolaos Panigirtzoglou ระบุว่า “ก่อนหน้านี้เราคาดว่า hashrate...

ทำความรู้จัก Notcoin (NOT) เหรียญบน Telegram ที่จิ้มแล้วได้เงิน

Notcoin (NOT) เริ่มจากเกมบน Telegram ที่สร้างโดย Open Builder ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปรู้จักกับโลก Web3 ผ่านกลไกการขุดเหรียญแบบ tap-to-earn (จิ้มหน้าจอแล้วได้เงิน) ด้วยวิธีการเล่นและได้เงินที่ง่ายแสนง่าย ทำให้มียอดผู้เล่นกว่า 35 ล้านราย และยอด active user 6 ล้านราย ต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวทำให้ Notcoin จัดเป็นหนึ่งในเกมคริปโตที่เป็นที่นิยมมากที่สุด...

นวัตกรรมเปลี่ยนโลก! ChatGPT อัปเกรดล่าสุด สามารถตอบโต้ด้วยภาพและเสียงได้แล้ว!!!

OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT ประกาศอัปเกรดล่าสุด GPT-4o ซึ่งมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ช่างพูดคุยมากขึ้น รวมถึงสามารถโต้ตอบภาพและวิดีโอของผู้ใช้ได้แบบเรียลไทม์ OpenAI ปล่อยวิดีโอตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นความสามารถของ GPT-4o เช่น ช่วยเตรียมตัวสัมภาษณ์, ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าเพื่อขอเปลี่ยน iPhone, เล่น dad joke (คล้ายมุกแป้กของไทย), แปลบทสนทนาแบบเรียลไทม์, เป็นกรรมการตัดสินเป่ายิ้งฉุบ รวมถึงเหน็บแนมได้ด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นปฏิกิริยาของ ChatGPT...

JPMorgan ปรับเพิ่มราคาประเมินต้นทุนขุด Bitcoin เป็น 45,000 ดอลลาร์

JPMorgan ปรับเพิ่มราคาประเมินต้นทุนการขุด Bitcoin จากเดิม 42,000 ดอลลาร์ ต่อ Bitcoin เป็น 45,000 ดอลลาร์ ต่อ Bitcoin เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ hashrate ในการขุด Bitcoin ทีมนักวิเคราะห์ของ JPMorgan นำโดย Nikolaos Panigirtzoglou ระบุว่า “ก่อนหน้านี้เราคาดว่า hashrate...

ทำความรู้จัก Notcoin (NOT) เหรียญบน Telegram ที่จิ้มแล้วได้เงิน

Notcoin (NOT) เริ่มจากเกมบน Telegram ที่สร้างโดย Open Builder ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปรู้จักกับโลก Web3 ผ่านกลไกการขุดเหรียญแบบ tap-to-earn (จิ้มหน้าจอแล้วได้เงิน) ด้วยวิธีการเล่นและได้เงินที่ง่ายแสนง่าย ทำให้มียอดผู้เล่นกว่า 35 ล้านราย และยอด active user 6 ล้านราย ต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวทำให้ Notcoin จัดเป็นหนึ่งในเกมคริปโตที่เป็นที่นิยมมากที่สุด...

นวัตกรรมเปลี่ยนโลก! ChatGPT อัปเกรดล่าสุด สามารถตอบโต้ด้วยภาพและเสียงได้แล้ว!!!

OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT ประกาศอัปเกรดล่าสุด GPT-4o ซึ่งมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ช่างพูดคุยมากขึ้น รวมถึงสามารถโต้ตอบภาพและวิดีโอของผู้ใช้ได้แบบเรียลไทม์ OpenAI ปล่อยวิดีโอตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นความสามารถของ GPT-4o เช่น ช่วยเตรียมตัวสัมภาษณ์, ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าเพื่อขอเปลี่ยน iPhone, เล่น dad joke (คล้ายมุกแป้กของไทย), แปลบทสนทนาแบบเรียลไทม์, เป็นกรรมการตัดสินเป่ายิ้งฉุบ รวมถึงเหน็บแนมได้ด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นปฏิกิริยาของ ChatGPT...

ก็น่ารักอะ! Pudgy Penguins ประกาศยอดขายตุ๊กตา ไม่ถึงปีทะลุ 1 ล้านตัวแล้ว

Pudgy Penguins หนึ่งในสิบ NFT collection ที่มีปริมาณซื้อขายสูงสุด ประกาศว่าสามารถขายตุ๊กตาของเล่นไปได้กว่า 1 ล้านตัว ผ่านช่องทางค้าปลีกต่างๆ Luca Netz ซีอีโอของ Pudgy Penguins ประกาศในวิดีโอผ่านทาง X (ทวิตเตอร์เดิม) ว่า ตุ๊กตาของเล่นมียอดขายกว่า 1 ล้านตัวแล้วในเวลาเพียงไม่ถึง 1 ปี พร้อมแย้มว่าจะมีการร่วมมือกับผู้ค้าปลีกรายอื่นๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

Save Settings