fbpx

Custodial vs Non-Custodial

HomeEDUCATIONCustodial vs Non-Custodial

ช่องทางการติดตาม

การกระโดดเข้าสู่โลกของสกุลเงินดิจิทัลนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง นั่นคือ กระเป๋าเงินดิจิทัล นี่คือเครื่องมือที่เปรียบเหมือนเบิกทางในการเริ่มทำธุรกรรม ซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโต หรือใช้แอปพลิเคชันบนบล็อคเชน การทำความเข้าใจว่ากระเป๋าเงินดิจิตอลทำงานอย่างไรและความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกระเป๋าเงินแบบ Custodial และ Non-Custodial นั้นมีความสำคัญ

ลองนึกภาพกระเป๋าเงินดิจิตอลเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อคุณกับเครือข่ายบล็อกเชน เครื่องมือที่ดีนี้ช่วยให้คุณส่งและรับคริปโต หรือใช้แอพพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ (Decentralized Application : DApps) ได้

ในความเป็นจริงแล้ว กระเป๋าเงินดิจิทัลไม่ได้เก็บคริปโตไว้ให้คุณ แต่จะแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการใช้งานคริปโต 

กระเป๋าเงินดิจิตอลของคุณประกอบด้วยสององค์ประกอบที่สำคัญ – คีย์สาธารณะ (Public Key) และ คีย์ส่วนตัว (Private Key) ในการรับคริปโต ใครบางคนสามารถทำธุรกรรมไปยังที่อยู่ที่สร้างโดยของกระเป๋าเงินของคุณ คุณสามารถแบ่งปันที่อยู่กระเป๋าเงินและรหัสสาธารณะของคุณได้อย่างเปิดเผย (ดังนั้นคำว่าสาธารณะ)

อย่างไรก็ตาม Private Key เปรียบเสมือนรหัสผ่านลับสุดยอด ที่ใช้ในการเข้าถึงกระเป๋าเงิน สินทรัพย์ในนั้น และใช้ในการทำธุรกรรม ตราบใดที่ Private ของคุณยังคงถูกเก็บไว้เป็นความลับและปลอดภัย คุณจะสามารถเข้าถึงคริปโตของคุณจากอุปกรณ์ใดก็ได้ และแน่นอนว่า ถ้าเกิดคนอื่นได้มันไป เขาก็สามารถเข้าถึงสินทรัพย์คริปโตของคุณได้เช่นกัน ดังนั้นรักษามันไว้ให้ดี

ถึงแม้คริปโตจะเป็นแบบดิจิทัล แต่กระเป๋าเงินที่ใช้เก็บ Public Key และ Private Key นั้นสามารถเป็นได้หลายรูปแบบ เราสามารถเก็บคีย์ไว้ด้วยการเขียนใส่กระดาษ, ใช้งานจากแอพบนคอมพิวเตอร์ หรือเก็บไว้ใน Hardware Wallet และนอกจากใช้เก็บเหรียญคริปโตแล้ว กระเป๋าเงินบางประเภทก็รองรับ NFTs อีกด้วย

แต่ไม่ว่ากระเป๋าเงินจะอยู่ในรูปแบบใด กระเป๋าคริปโตก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักคือ Custodial และ Non-Custodial 

Custodial Wallet

ลองนึกภาพว่าคุณมีกระเป๋าอยู่ใบหนึ่ง โดยที่คุณไม่ได้เป็นคนดูแลมัน แต่มีบุคคลที่สามคอยดูแลจัดการให้ ทั้งการควบคุม Public Key และ Private Key รวมไปถึงการคอยอนุมัติทำธุรกรรมต่างๆ 

หมายความว่าคุณจะไม่สามารถควบคุมเงินหรือทำธุรกรรมได้ด้วยตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งนี้ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป

Bitcoin ยุคแรกๆ ผู้ใช้ต้องสร้างและจัดการกระเป๋าเงินและ Private Key ของตัวเอง วิธีการแบบนี้มีประโยชน์ แต่อาจเป็นภาระและมีความเสี่ยงสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่ช่ำชองนัก  หาก Private Key ของคุณถูกสูญหายหรือมีคนอื่นมาขโมยไป คุณจะสูญเสียทรัพย์สินคริปโตของคุณไปได้ง่ายๆ เลย โดยรายงานว่า Bitcoin มากกว่า 3,000,000 BTC สูญหายไปตลอดกาลเพราะเจ้าของกระเป๋าทำ Private Key หาย

การกู้คืนกระเป๋าเงินคริปโตเป็นเรื่องที่ยากมากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าเกิดว่าเจ้าของกระเป๋าเงินเป็นคนเดียวที่ถือครอง Private Key แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าวได้ โดยอนุญาตให้บุคคลที่สามเข้ามาช่วยดูแลและเข้าถึงทรัพย์สินของเรา

แม้ว่าเราจะลืมรหัสผ่านเข้าเว็บเทรด แต่เราก็ยังสามารถเข้าถึงบัญชีและทรัพย์สินของเราได้โดยติดต่อฝ่ายสนับสนุนลูกค้า อย่างไรก็ตาม หากเราใช้กระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial มันก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะดูแลปกป้องกระเป๋าเงินและสินทรัพย์ของเราเอง

ในบางครั้ง การใช้บริการกระเป๋าเงินแบบ Custodial ก็ดูจะสมเหตุสมผล แต่นั้นก็หมายถึงการไว้วางใจบุคคลที่สาม ให้สามารถเข้าถึงสินทรัพย์และ Private Key ของเราด้วย ดังนั้นการเลือกผู้ให้บริการที่จะเข้ามาดูแลก็เป็นเรื่องสำคัญ

Non-Custodial Wallet

กระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial ให้คุณสามารถควบคุมสินทรัพย์และ Private Key ด้วยตัวคุณเองอย่างสมบูรณ์ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการควบคุมเงินทุนอย่างเต็มที่ กระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial ช่วยให้เราสามารถซื้อขาย หรือทำธุรกรรมอื่นๆ ได้โดยตรงจากกระเป๋าของเราเอง นักลงทุนที่มีประสบการณ์ซึ่งเข้าใจวิธีจัดการและปกป้อง Private Key และ Seed Phase มักจะชอบตัวเลือกนี้

สำหรับการใช้งาน Decentralized Exchanges (DEX) หรือ Decentralized Applications (dApps) เช่น Uniswap, SushiSwap, PancakeSwap และ QuickSwap เราจำเป็นต้องใช้กระเป๋าแบบ Non-Custodial

Trust Wallet และ MetaMask เป็นผู้ให้บริการกระเป๋าเงินแบบ Non-Custodial ยอดนิยม แต่โปรดจำไว้ว่าด้วยกระเป๋าเงินเหล่านี้ คุณคือผู้รับผิดชอบ Private Key และ Seed Phase ของคุณแต่เพียงผู้เดียว

ข้อดีข้อเสียของ Custodial Wallet

ข้อเสียหลักของ Custodial Wallet คือการที่เราต้องไว้วางใจให้บุคคลที่สามมาดูแลเงินและ Private Key ของเรา และผู้ให้บริการส่วนใหญ่ต้องการการยืนยันตัวตน (Know Your Customer : KYC) อย่างไรก็ตามข้อดีคือความสบายใจและความสะดวกสบาย คุณไม่ต้องเครียดว่าจะทำ Private Key หาาย และสามารถติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าได้ตลอดเวลาหากว่ามีปัญหา

เมื่อเลือกใช้บริการ Custodial ให้เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือซึ่งมีหลักประกันและความคุ้มครองสูง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการได้รับการควบคุมและปฏิบัติตาม ผู้ดูแลคริปโตบางรายมีข้อกำหนดเฉพาะที่คุณอาจไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบัน Ceffu ให้บริการเฉพาะลูกค้าระดับองค์กรเท่านั้น

ข้อดีข้อเสียของ Non-Custodial Wallet

ถ้าหากคุณใช้กระเป๋าแบบ Non-Custodial คุณสามารถ “Be Your Own Bank” คุณจะควบคุมสินทรัพย์และ Private Key ของคุณเองแบบ 100% สามารถทำธุรกรรมได้เร็วกว่าเนื่องจากคุณไม่ต้องรอการอนุมัติจากบุคคลที่สาม นอกจากนี้หากไม่มีผู้ดูแล ก็ไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

ข้อเสียของกระเป๋าเงิน Non-Custodial คือมันมักจะไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้ และอาจเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับมือใหม่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริการเหล่านี้การพัฒนาอยู่ตลอด มันจึงใช้งานง่ายขึ้นเรื่อยๆ อย่าลืมว่าคุณต้องรับผิดชอบ Private Key ของคุณแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นต้องใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษามันไว้ให้ดี

วิธีการเก็บรักษากระเป๋าเงินของคุณให้ปลอดภัย

  • ใช้รหัสผ่านที่รัดกุม
  • เปิดใช้งานการรับรองความถูกต้องด้วยสองปัจจัย (2 Factor Authenticator : 2FA) เพื่อเพิ่มการป้องกัน
  • ระมัดระวังเกี่ยวกับการหลอกลวงและการโจมตีแบบ Phishing
  • ระมัดระวังเมื่อคลิกลิงก์แปลกๆ หรือการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ใหม่

กระเป๋าเงินทั้งสองประเภทเหมาะสำหรับการจัดเก็บสินทรัพย์คริปโตรวมถึง NFTs นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้กระเป๋าเงินทั้งสอบแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระเป๋าเงินที่คุณใช้สามารถรองรับประเภทของคริปโตที่คุณต้องการจัดเก็บได้ เนื่องจากกระเป๋าเงินบางประเภทไม่สามารถจัดเก็บคริปโตได้ทุกชนิด

เครือข่าย blockchain ที่แตกต่างกัน ก็ใช้คริปโตเคอร์เรนซีหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้ตามมาตรฐานโทเค็น แต่โปรดจำไว้ว่าโทเค็นเดียวกันสามารถทำงานบนเครือข่ายที่แตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น BNB เป็น โทเค็นมาตรฐาน BEP-20 บนเครือข่าย BNB Smart Chain และเป็นโทเค็นมาตรฐาน BEP-2 บนเครือข่าย BNB Beacon Chain

มาตรฐานโทเค็นที่พบบ่อยๆ ได้แก่ :

BNB Smart Chain: BEP-20, BEP-721, BEP-1155

Ethereum: ERC-20, ERC-721, ERC-1155

Solana: SPL

สรุปแล้ว Custodial หรือ Non-Custodial ? ผู้ใช้คริปโตส่วนใหญ่ใช้ทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับความต้องการของพวกเขา หากคุณต้องการควบคุมทรัพย์สินของคุณอย่างเต็มที่หรือต้องการท่องโลก DeFi ก็ไปใช้ Non-Custodial แต่ถ้าคุณต้องการให้มีผู้ให้บริการมาช่วยจัดการ ก็ให้เลือก Custodial ที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้

โปรดจำไว้เสมอ ไม่ว่าจะใช้กระเป๋าเงินแบบ Custodial หรือ Non-Custodial กระเป๋าเงินที่ปลอดภัยที่สุดคือกระเป๋าเงินที่คุณควบคุมมันได้

Enter to Start Team
Enter to Start Teamhttps://entertostart.co
ทีมคนสร้างสื่อที่ตั้งใจจะสร้างพื้นที่แห่งการแบ่งปันข้อมูลในโลกธุรกิจ การลงทุน และคริปโต เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ผ่านคอนเทนต์ที่ย่อยง่าย เข้าใจได้ไม่ยาก

เรื่องยอดนิยมวันนี้

เรื่องยอดนิยม 7 วัน

เรื่องยอดนิยมวันนี้ | POPPULAR TODAY

เรื่องยอดนิยม 7 วัน | POPPULAR IN 7 DAYS

แนะนำวิธีการเข้าร่วมเควสต์ที่ 4 ของ Taproot Wizards ชิงรางวัล NFT Quantum Cats

Taproot Wizards โปรเจกต์ Bitcoin Ordinals ชื่อดัง ประกาศเควสต์ที่ 4 เพื่อตามล่าหา Quantum Cats ผู้สนใจสามารถอ่านขั้นตอนการเข้าร่วมกิจกรรมได้จากโพสต์นี้เลย ขั้นแรกสุด ผู้สนใจต้องเข้าร่วม discord ของ Taproot Wizards https://discord.com/invite/taprootwizards และทำการ verify ตัวตนให้เรียบร้อย จากนั้นเข้าเลือกทีม @Dead หรือ...

แฮ็กเกอร์อ้างขโมยข้อมูลส่วนตัวและภาพเซลฟี่ลูกค้า Coin Cloud แม้บ.ยื่นล้มละลายแล้ว

Vx-underground ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เปิดเผยว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ไม่ระบุชื่อ ออกมาอ้างว่าได้ขโมยภาพเซลฟี่ของลูกค้า 70,000 ราย และข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า 300,000 ราย ของ Coin Cloud บริษัท Bitcoin ATM ที่ให้บริการเครื่อง ATM กว่า 4,000 เครื่อง ในสหรัฐและบราซิล จนกระทั่งยื่นขอล้มละลายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์นี้

เทรดคริปโตสไตล์ไทย! นักเทรดหันพึ่งหมอดู-ไพ่ทาโรต์ หวังทำนายทิศทางตลาด

นักเทรดหุ้นและคริปโตมักจะมีวิธีที่น่าสนใจและบางครั้งก็แปลก ๆ ในการคาดการณ์ทิศทางของตลาด โดยบางคนระบุว่าจิตไร้สำนึก (unconscious mind) ของเราสามารถคาดการณ์ทิศทางตลาดหุ้นได้ผ่านฝันบอกเหตุ ขณะที่บางคนหันไปพึ่งแชทบอท

บริษัทในสหรัฐฯ เริ่มหันไปจ้างพนักงานชั่วคราวมากขึ้น เหตุกังวลเศรษฐกิจถดถอย

พบว่ามีการจ้างพนักงานแบบชั่วคราวเพิ่มขึ้น 28% ตั้งแต่โควิดระบาด ทั้งนี้เกิดจากกังวลเศรษฐกิจถดถอย และสู้ราคาค่าจ้างไม่ไหว

ไปก่อนไม่รอแล้วนะ! Bitcoin ทะลุ 57,000 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี

ราคา Bitcoin พุ่งทะลุ 57,000 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021 โดยได้แรงหนุนจากการซื้อขายปริมาณมหาศาลใน spot bitcoin ETF ซึ่งทำปริมาณซื้อขายสูงเป็นสถิติใหม่ที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ตามเวลาสหรัฐ  ราคา Bitcoin เริ่มปรับตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงเช้าวันจันทร์ ตามเวลาสหรัฐ โดยทำราคาเกิน 53,000 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021...

SEC เปิดฉากเจรจา Grayscale เกี่ยวกับ Spot Bitcoin ETF

CoinDesk รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) ได้เปิดฉากเจรจากับ Grayscale Investments เกี่ยวกับรายละเอียดที่ Grayscale ยื่นขอแปลงกองทรัสต์ GBTC เป็น Spot Bitcoin ETF 

Arkham Intelligence เผยมีผู้ได้รับ airdrop Ethena มูลค่าเกือบ 2 ล้านดอลลาร์

พบผู้โชคดีได้รับ airdrop จาก Ethena Labs มูลค่าเกือบ 2 ล้านดอลลาร์ จากการแจก Ethena (ENA) เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา Arkham Intelligence ระบุว่า ผู้โชคดีดังกล่าวเป็นเจ้าของกระเป๋า 0xb56 ได้รับ 3.3 ล้าน Ethena คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.96...

Dogecoin เป็นของ Elon Musk? เปิดประวัติผู้สร้าง Dogecoin ตัวจริง

Dogecoin สุดยอดเหรียญมีมที่ทุกคนในโลกคริปโตต่างรู้จัก และน่าจะเป็นเหรียญมีมที่โด่งดังที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้สนใจในคริปโต Dogecoin เคยช่วยพลิกสถานะทางการเงินของหลายคน ทำให้หลายคนร่ำรวยขึ้นมา เพียงแต่ผู้ที่สร้างเหรียญนี้กลับไม่ได้รับอะไรเช่นนั้นเลย เพราะอะไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เรามาหาคำตอบกัน

Wormhole เผยรายละเอียด Tokenomic กลุ่มไหนได้เท่าไหร่ดูได้ที่โพสต์นี้

Web3 มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมอินเทอร์เน็ตที่โปร่งใส trustless เปิดกว้าง และปลอดภัย วิสัยทัศน์นี้พึ่งพา ecosystem ที่ปลอดภัยและเชื่อมต่อกันอย่างราบรื่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ Web3 ecosystem ต้องการโปรโตคอลการส่งข้อความพื้นฐานที่ปลอดภัย decentralized ลดการ trust ลงให้น้อยที่สุด และเป็นโอเพ่นซอร์ส เมื่อ 3 ปีที่แล้ว Wormhole (@wormholecrypto) เปิดตัวโปรโตคอลการส่งข้อความทั่วไปตัวแรกที่เชื่อมต่อกับ Ethereum...

Richard Teng เผยเส้นทางจากการกำกับดูแลสายการเงินสู่ซีอีโอ Binance

เมื่อคืนที่ผ่านมา คุณ Richard Teng ซีอีโอของ Binance ได้ออกมาพูดถึงเรื่องราวการเดินทางจากสายการเงินแบบดั้งเดิมสู่โลก Web3 ใน Ask Me Anything โดย CoinMarketCap คุณ Richard ระบุว่า ตัวเค้ามาจากสายการเงินแบบดั้งเดิมและทำหน้าที่ในหน่วยงานกำกับดูแลเป็นส่วนใหญ่ แต่จุดเปลี่ยนก็มาถึงในปี 2017 ที่เค้าเดินทางไปสัมมนาในสหรัฐและได้เจอกับคนในวงการคริปโตมากมาย ซึ่งนั่นสร้างความสนใจให้กับเขา เพราะในมุมมองของคุณ Richard นั้น...

คึกคักสุด ๆ! ปริมาณซื้อขาย Spot Bitcoin ETF วันแรก พุ่งทะลุ 4.5 พันล้านดอลลาร์

Cointelegraph รายงานว่า ปริมาณการซื้อขาย Spot Bitcoin ETF ในวันแรกพุ่งทะลุ 4.5 พันล้านดอลลาร์ โดย ETF ของ BlackRock, Grayscale และ Fidelity มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด ขณะเดียวกัน ETF ของ Hashdex ยังไม่สามารถซื้อขายได้เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ของสหรัฐยังไม่ได้อนุมัติแบบฟอร์ม...

เทียบกันไปเลย! ค่าธรรมเนียม Spot Bitcoin ETF ใครถูก-แพง ดูได้ที่นี่

เหลืออีกเพียง 2 วัน ก่อนจะถึงวันที่หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ของสหรัฐ จะอนุมัติ Spot Bitcoin ETF หนึ่งรายหรือมากกว่านั้น และผู้ยื่นขอทั้งหมดได้เปิดเผยข้อมูลค่าธรรมเนียมกองทุนของตนเองออกมาแล้ว Bitwise กับ ARK เสนอที่จะยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการซื้อขายใน 6 เดือนแรก และ/หรือกองทุนมีสินทรัพย์ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ หลังจากนั้นจะเก็บค่าธรรมเนียม 0.24% กับ...

บทความที่เกี่ยวข้อง | RELATED ARTICLE

จุดเริ่มต้นเล็กๆ ของบางสิ่งที่กำลังจะยิ่งใหญ่ ครบรอบ 14 ปี White Paper ของ Bitcoin เอกสาร 9 หน้า ที่ปฏิวัติโลกการเงิน

White Paper ของ Bitcoin ที่เผยแพร่เมื่อ 14 ปีที่แล้ว ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมที่กำลังปฏิวัติวงการการเงินโลก

HODL ศัพท์แสลงในวงการคริปโตที่เกิดขึ้นเพราะ ‘เมา’

HODL คำที่เห็นกันบ่อยมากในวงการคริปโต มันเป็นคำที่ไม่มีความหมายในภาษาอังกฤษ แต่เป็นศัพท์แสลงที่เกิดขึ้นเพราะ 'เมา'

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ Bitcoin ถูกขุดครบ 21 ล้านเหรียญ

Bitcoin จะถูกขุดครบเมื่อปี 2140 นับว่าเป็นเวลาอีกนาน แต่ทั้งนี้ ถ้า Bitcoin ถูกขุดครบ 21 ล้านเหรียญ จะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้นล่ะ?

Fear and Greed Index ในโลกคริปโต

จิตวิทยาของมนุษย์ทำงานในลักษณะที่เราคาดเดาไม่ได้ มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อภาวะต่างๆ แต่ว่าสิ่งเหล่านี้กลับมีบทบาทสำคัญในตลาดการเงิน ผู้คนจำนวนมากตอบสนองตามภาวะตลาดที่หลากหลาย ส่งผลต่อตลาดหมีหรือตลาดกระทิง แนวโน้มขาขึ้นเกิดจากความโลภ (Greed) ในขณะที่แนวโน้มขาลงเกิดจากความกลัว (Fear) ตัวอย่างพฤติกรรมก็คืออาการ FOMO (Fear of Missing Out) ซึ่งอธิบายถึงสถานการณ์ที่นักลงทุนตัดสินใจแบบไม่ค่อยสมเหตุสมผล ซื้อหรือขายสินทรัพย์โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน ซึ่งมันจะส่งผลต่อราคาอย่างมากในทางใดทางหนึ่ง ในการตัดสินใจซื้อหรือขายคริปโต นักลงทุนส่วนใหญ่ประเมินจากตามเทคนิคต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถตัดสินใจซื้อหรือขายหรือการดำเนินการบางอย่าง มีตั้งแต่การวิเคราะห์กราฟแบบ on-chain, off-chain การวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ...

เปิดโลกคริปโตให้กว้างขึ้นกับ 5 สารคดีที่คุณไม่ควรพลาด

5 สารคดีที่หยิบเอาเรื่องราวของคริปโตมาตีแผ่ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนกระทั่งมันเติบโตและส่งผลกระทบต่อวงการการเงินโลกอย่างมหาศาล

“ตลาดหมี” เรานักลงทุนควรทำอะไร

KEY TAKEAWAYS ตลาดหมีคือสภาวะตลาดที่ราคาสินทรัพย์บางตัวหรือบางกลุ่ม เช่น คริปโต ร่วงลงมากกว่า 20% จากจุดสูงสุด เกิดได้จากหลายปัจจัย อย่า panic sell มองเป้าหมายระยะยาว ทบทวนจุดประสงค์การลงทุนของตนเอง ศึกษาจากความผิดพลาด หมั่นหาความรู้เพิ่มเติม ถ้าเหนื่อยล้าก็ปิดจอแล้วออกไปทำอย่างอื่น อย่าหมกมุ่นอยู่กับพอร์ตที่ติดลบ "ตลาดหมี" เรานักลงทุนควรทำอะไร  ในช่วงภาวะตลาดหมีใน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนมักจะเป็นลบ และเต็มไปด้วยความหวาดกลัว ความไม่แน่นอน และความสงสัย (FUD) บทความนี้มีเป้าหมายที่จะให้แนวทางที่ครอบคลุมว่าจะควรทำตัวอย่างไรในช่วงเวลาดังกล่าว ทำความเข้าใจตลาดหมีกันก่อน ตลาดหมีคือสภาวะตลาดที่ราคาสินทรัพย์บางตัวหรือบางกลุ่ม เช่น คริปโต ร่วงลงมากกว่า...

Peter Schiff นักด่า Bitcoin ในตำนาน

Peter Schiff โด่งดังจากการเป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ไม่กี่คนที่ทำนายวิกฤติการเงินปี 2008 ได้ล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม Peter Schiff แสดงออกถึงความเกลียด Bitcoin ออกมาบ่อยครั้ง แล้วทำไมเขาถึงได้จงเกลียดจงชัง Bitcoin ขนาดนั้น เรามาค่อย ๆ ดูไปพร้อม ๆ กัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง | RELATED NEWS

วิเคราะห์ Renzo โปรเจกต์ Restaking ที่มาแรงสุดๆ ในขณะนี้

กระแส Restaking กำลังมาแรงสุดๆ หลายคนยังไม่รู้ถึงพลังของ Eigenlayer ว่ามัน Powerful ขนาดไหน วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า Renzo โปรเจกต์ Launchpool LRT ที่จะออกวันนี้ว่า 🔹พื้นฐานมันเป็นยังไง  🔹Tokenomics เป็นยังไง 🔹ดราม่า depeg ดราม่า Pie chart 🔹ราคาจะออกมาประมาณเท่าไหร่ ปูพื้นฐานให้ก่อน ว่า Eigenlayer คืออะไร แล้วมันมาเกี่ยวอะไรกับ LRT Eigenlayer...

Stripe กลับสู่สนามคริปโต! เตรียมเปิดรับการชำระเงินด้วย USDC 

Stripe แพลตฟอร์มชำระเงินชื่อดัง เตรียมกลับมาให้บริการชำระเงินด้วยคริปโทเคอร์เรนซีอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนของสหรัฐ หลังจากการยุติการใช้ Bitcoin และการชำระเงินด้วยคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดเมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดยในช่วงเริ่มแรกจะรองรับเฉพาะ USDC ของบริษัท Circle เท่านั้น ในงานประชุม Global Internet Economy Conference เมื่อคืนวันพฤหัสที่ผ่านมา John Collison ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ของบริษัท Stripe ได้ประกาศข่าวดีว่า “ทางบริษัทเตรียมกลับมาเปิดให้บริการชำระเงินด้วยคริปโทเคอร์เรนซีอีกครั้ง...

Standard Chartered กลับลำ! เชื่อ SEC สหรัฐ ไม่อนุมัติกองทุน ETH ETF พ.ค.นี้

Standard Chartered ธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ได้เปลี่ยนจุดยืนต่อการอนุมัติกองทุน Ethereum ETF ที่ก่อนหน้านี้มองว่าจะได้รับการอนุมัติ โดยระบุว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) อาจไม่อนุมัติกองทุน Ethereum ETF ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ เมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา Geoffrey Kendrick หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้าน Forex และสินทรัพย์ดิจิทัลของธนาคาร Standard Chartered ระบุว่า “ก่อนหน้านี้เราคาดว่า SEC สหรัฐจะอนุมัติกองทุน...

วิเคราะห์ Renzo โปรเจกต์ Restaking ที่มาแรงสุดๆ ในขณะนี้

กระแส Restaking กำลังมาแรงสุดๆ หลายคนยังไม่รู้ถึงพลังของ Eigenlayer ว่ามัน Powerful ขนาดไหน วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า Renzo โปรเจกต์ Launchpool LRT ที่จะออกวันนี้ว่า 🔹พื้นฐานมันเป็นยังไง  🔹Tokenomics เป็นยังไง 🔹ดราม่า depeg ดราม่า Pie chart 🔹ราคาจะออกมาประมาณเท่าไหร่ ปูพื้นฐานให้ก่อน ว่า Eigenlayer คืออะไร แล้วมันมาเกี่ยวอะไรกับ LRT Eigenlayer...

Stripe กลับสู่สนามคริปโต! เตรียมเปิดรับการชำระเงินด้วย USDC 

Stripe แพลตฟอร์มชำระเงินชื่อดัง เตรียมกลับมาให้บริการชำระเงินด้วยคริปโทเคอร์เรนซีอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนของสหรัฐ หลังจากการยุติการใช้ Bitcoin และการชำระเงินด้วยคริปโตเคอร์เรนซีทั้งหมดเมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดยในช่วงเริ่มแรกจะรองรับเฉพาะ USDC ของบริษัท Circle เท่านั้น ในงานประชุม Global Internet Economy Conference เมื่อคืนวันพฤหัสที่ผ่านมา John Collison ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ของบริษัท Stripe ได้ประกาศข่าวดีว่า “ทางบริษัทเตรียมกลับมาเปิดให้บริการชำระเงินด้วยคริปโทเคอร์เรนซีอีกครั้ง...

Standard Chartered กลับลำ! เชื่อ SEC สหรัฐ ไม่อนุมัติกองทุน ETH ETF พ.ค.นี้

Standard Chartered ธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ได้เปลี่ยนจุดยืนต่อการอนุมัติกองทุน Ethereum ETF ที่ก่อนหน้านี้มองว่าจะได้รับการอนุมัติ โดยระบุว่าสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) อาจไม่อนุมัติกองทุน Ethereum ETF ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ เมื่อคืนวันพุธที่ผ่านมา Geoffrey Kendrick หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้าน Forex และสินทรัพย์ดิจิทัลของธนาคาร Standard Chartered ระบุว่า “ก่อนหน้านี้เราคาดว่า SEC สหรัฐจะอนุมัติกองทุน...

Binance เปิดตัว Renzo (EZ) โปรเจกต์ที่ 53 บน Binance Launchpool เริ่ม Staking BNB และ FDUSD ได้ 24 เม.ย.นี้

Binance ประกาศเปิดตัวโปรเจกต์ที่ 53 บน Binance Launchpool คือ Renzo (EZ) ซึ่งเป็น liquid restaking protocol โดยหน้าเว็บจะเปิดใช้งานในวันที่ 24 เมษายน 2024 เวลา 02.00 น. ตามเวลาไทย ซึ่งผู้ใช้จะสามารถ stake BNB...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

Save Settings