KEY TAKEAWAYS
- อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 10.7% ในเดือนตุลาคม สูงกว่าการคาดการณ์ที่ 10.2%
- อัตราเงินเฟ้อที่สูงมากนี้ มีแนวโน้มที่จะทำให้ธนาคารกลางยุโรปยังคงที่มีนโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไป
- หัวหน้าธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า “มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางยุโรปจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่สามติดต่อกันในเดือนธันวาคม”
อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 10.7% ในเดือนตุลาคม ทำให้เกิดแรงกดดันต่อธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าการคาดการณ์จากนักเศรษฐศาสตร์ของ Reuters ที่คาดการณ์ไว้ที่ 10.2% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในยูโรโซนยังมีสถานการณ์ไม่ค่อยดีนัก โดยธนาคารกลางยุโรปเพิ่มดอกเบี้ย 0.75% เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่สูง และกล่าวว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์โดย Eurostat ยืนยันว่าการเติบโตของยูโรโซนชะลอตัวลงในไตรมาสที่สาม เพิ่มขึ้น 0.2% จากไตรมาสก่อนหน้า ตัวเลขนี้สอดคล้องกับการคาดการณ์ แต่ชะลอตัวลงจากการเติบโตในไตรมาสก่อนหน้า 0.8%
เคน วัตต์เร็ต (Ken Wattret) หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และข้อมูลเชิงลึกที่ S&P Global Market Intelligence คาดการณ์ว่า “กิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้พลังงานที่จะเกิดขึ้นในฤดูหนาวนี้จะทำให้เกิดภาวะถดถอยที่รุนแรง แต่เป็นระยะเวลาสั้นๆ” โดย GDP ของยูโรโซนหดตัว 1% ในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปีนี้และไตรมาสแรกของปีหน้า
ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อที่สูงมากนี้ มีแนวโน้มที่จะทำให้ธนาคารกลางยุโรปยังคงที่มีนโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไป
คลาสส์ น็อต (Klaas Knot) หัวหน้าธนาคารกลางเนเธอร์แลนด์ (De Nederlandsche Bank NV: DNB) ซึ่งอยู่ในสภาควบคุมการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป ให้สัมภาษณ์ในรายการ Buitenhof ของประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อวันอาทิตย์ว่า “มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางยุโรปจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่สามติดต่อกันในเดือนธันวาคม”
Eurostat รายงานว่าราคาพลังงานในเดือนตุลาคมเพิ่มไปที่ 41.9% โดยในเดือนกันยายนอยู่ที่ 40.7% ส่วนราคาอาหาร แอลกอฮอล์ และยาสูบในเดือนตุลาคมเพิ่มไปที่ 13.1% จาก 11.8% ในเดือนกันยายน
11 ประเทศจาก 19 ประเทศในยูโรโซนยังคงมีอัตราเงินเฟ้อเป็นตัวเลขสองหลัก ในขณะที่กลุ่มประเทศบอลติก (เอสโธเนีย ลัตเวีย และลิธัวเนีย) ยังคงมีอัตราเงินเฟ้อเกิน 20%
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่ายูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า เนื่องจากค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ครัวเรือนต้องลดการใช้จ่าย ขณะที่ต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้นทำให้บางอุตสาหกรรมต้องลดขนาดการผลิตหรือปิดกิจการไป
Reference: Financial Time