fbpx

ทำความรู้จักกับ Web 3.0 กุญแจสู่ยุคสมัยใหม่ของโลกอินเทอร์เน็ต

HomeCRYPTOTECHNOLOGY | Cryptoทำความรู้จักกับ Web 3.0 กุญแจสู่ยุคสมัยใหม่ของโลกอินเทอร์เน็ต

ช่องทางการติดตาม

KEY TAKEAWAYS

  • Web 1.0 เป็นเว็บแบบอ่านทางเดียว หรือ Read-only web เกิดขึ้นในช่วงปี 1989 ซึ่งถูกพัฒนาโดย Tim Berners-Lee
  • หลังจากนั้นมีการพัฒนาเว็บ Web 2.0 ที่ให้ผู้ใช้สามารถที่จะสร้างเนื้อหา และเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดเว็บแอปพลิเคชันอย่าง Social Media และ Platform ต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
  • ในขณะที่ Web 2.0 นั้นถูกควบคุมโดยกลุ่มคนโดยไม่กี่คนหรือองค์กรใหญ่ๆ บางแห่ง Web 3.0 พยายามที่จะหนีออกจากสิ่งนั้นด้วยการทำให้เกิดการกระจายอำนาจ (Decentralized) ในทุกเรื่องตั้งแต่ความเป็นเจ้าของ การตัดสินใจ การจัดเก็บข้อมูล 

ในปัจจุบันโลกอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็ต้องมีอินเทอร์เน็ตมาเกี่ยวข้องด้วยตลอดแทบทุกครั้ง แต่เคยได้ยินหรือเปล่าว่า มันกำลังจะมีสิ่งที่เป็นเว็บไซต์รูปแบบหนึ่งที่เรียกกันว่า Web 3.0

ซึ่งคนที่อยู่ในวงการคริปโตเคอเรนซี่ ก็คงจะคุ้นๆ กับคำว่า Web 3.0 กันมาบ้าง แต่ว่า Web 3.0 มันมาจากไหน แล้ว Web 1.0 2.0 หล่ะ มันหายไปไหน ดังนั้นก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับ Web 3.0 เดี๋ยวเราไปทำความรู้จักกับ Web 1.0 และ Web 2.0 กันก่อน

จุดเริ่มต้นของการส่งข้อมูลไร้พรมแดน การเกิดขึ้นของ Web 1.0

ย้อนกลับไปในปี 1989 ที่สภาวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (The European Organization for Nuclear Research) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าเซิร์น (CERN) มีนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยชาวอังกฤษคนหนึ่ง ชื่อว่า ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) ก็ได้นั่งขบคิดถึงโปรโตคอลที่สามารถให้นักวิจัยแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ระหว่างกัน จากที่ใดในโลกนี้ก็ได้ ก่อนที่เขาจะได้ทำการพัฒนามาเป็นสิ่งที่เราเรียกกันว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) 

Tim Berners-Lee บิดาผู้ให้กำเนิดเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) | ภาพจาก Codepen

โปรโตคอลที่พัฒนาโดย Berners นั้นถือว่าเป็นอินเทอร์เน็ตในยุคแรกเริ่ม เรียกกันในชื่อ “Web 1.0” โดยเว็บไซต์ส่วนใหญ่ในยุคนี้เป็นเว็บไซต์ที่มีเหล่าบริษัทหรือสถาบันชั้นนำเป็นเจ้าของ เว็บไซต์ประเภทนี้รู้จักกันในฐานะ “เว็บแบบอ่านอย่างเดียว” หรือที่เรียกกันว่า Read-only web”

ข้อมูลต่างๆ ในยุค Web 1.0 นั้นมาจากเจ้าของเว็บไซต์เพียงฝั่งเดียว รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ ก็ถูกเก็บโดยเจ้าของเว็บไซต์ และวิธีการในการสื่อสารนั้นก็ถูกกำหนดโดยเจ้าของเว็บไซต์ 

เรียกง่ายๆ ว่าในยุคของ Web 1.0 นั้น ทั้งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล และวิธีการสื่อสาร เป็นแบบรวมศูนย์ (Centralized) ทั้งหมด ไม่มีส่วนใดที่เป็นแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ทำให้หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนารูปแบบการใช้งานรูปแบบใหม่ขึ้นมา จึงเป็นที่มาของการเกิดขึ้นของ Web 2.0

Web 2.0 กับรูปแบบการใช้งานที่มากกว่าแค่การอ่าน

Web 2.0 นั้นไม่ได้หมายถึงการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งาน จาก Web 1.0 ที่เราใช้งานในรูปแบบ Write-only มีการสื่อสารแบบทางเดียว (One Way Communication) ก็ถูกแทนที่ด้วยรูปแบบการใช้งานแบบ Write-Read มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two Way Communication) ซึ่งเป็นรูปแบบของ Web 2.0 ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน 

ในช่วง Web 2.0 นอกจากการใช้อินเทอร์เน็ตในการอ่านอย่างเดียวแล้ว  ผู้ใช้งานอย่างเราๆ ก็สามารถที่จะสร้างเนื้อหาหรือเขียน และเผยแพร่เนื้อหาของตนเองได้อย่างอิสระบนเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งรูปแบบการใช้งานเหล่านี้ทำให้เกิดการเชื่อมต่อกันทางสังคมขึ้นมาบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ถึงแม้ว่าข้อมูลต่างๆ นั้นจะถูกสร้างขึ้นมาจากเหล่าผู้ใช้งาน แต่ในการจัดเก็บข้อมูล และการสื่อสารกันระหว่างข้อมูลนั้นก็จะต้องผ่านตัวกลางอยู่ดี ซึ่งตัวกลางก็คือบรรดาเว็บไซต์ที่เราไปใช้งาน โดยเว็บไซต์ต่างๆ นั้นทำหน้าที่เป็นคนจัดเก็บ รับ และส่งต่อข้อมูลต่างๆ จากต้นทางไปยังปลายทาง

บรรดาเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ค (Facebook), ทวิตเตอร์ (Twitter), ยูทูป (Youtube), ไลน์ (Line) ก็ล้วนเป็นเว็บไซต์แบบ Web 2.0 หรือเราจะเรียก Web 2.0 ว่าเป็นยุคสมัยของเว็บไซต์แบบโซเชี่ยลมีเดียก็ได้

แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เมื่อบรรดาเว็บไซต์ตัวกลางทั้งหลายที่คอยทำหน้าที่ดูแลจัดการข้อมูลให้กับเรา ได้นำข้อมูลที่เหล่าผู้ใช้งานได้สร้างขึ้นมาไปหารายได้ สร้างผลประโยชน์มหาศาลให้กับตัวเอง ทั้งการนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปขายให้กับองค์กรต่างๆ หรือทำการขายพื้นที่สำหรับการโฆษณา 

นอกจากนี้ Web 2.0 ยังมีข้อเสียคือเหล่าผู้ใช้งาน ทำได้เพียงแค่อ่านและสร้างเนื้อหาขึ้นมาเท่านั้น ไม่ได้มีความเป็นเจ้าของ ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินในด้านการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนแนวทางของแพลตฟอร์ม เหล่าผู้ใช้งานถูกบังคับให้ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข (Terms & Conditions : T&Cs) ในการใช้บริการที่ถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าของแพลตฟอร์มก่อนที่จะเข้าใช้งาน หากไม่ยอมรับก็จะหมดสิทธิในการเข้าใช้งานแพลตฟอร์มนั้นๆ ซึ่งในบางครั้ง กฎหรือข้อตกลงเหล่านี้ก็เป็นการเอาเปรียบเหล่าผู้ใช้งานเอง ส่วนใครที่ไม่ยอมรับข้อตกลงก็อาจจะถูกห้ามใช้เว็บไซต์นั้นๆ ไปเลย

เรียกง่ายๆ ว่าข้อมูลต่างๆ บน Web 2.0 จะเป็น Decentralized แต่การจัดเก็บข้อมูล และวิธีการสื่อสาร ก็ยังคงเป็นแบบ Centralized อยู่ดี ด้วยเหตุนี้ จึงก่อให้เกิดแนวคิดเกี่ยวการพัฒนาแนวทางการใช้งานอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งก็คือ Web 3.0

ก้าวไปสู่โลกอุดมคติกับการมาถึงของ Web 3.0

Tim Berners-Lee บิดาผู้ให้กำเนิดระบบ WWW ได้บอกว่า เขานั้นฝันถึงโลกแห่งการเชื่อมต่อที่ไร้ศูนย์กลาง โดยผู้ใช้งานนั้นจะสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้จากทั่วทุกมุมโลกโดยที่ไม่ต้องมีตัวกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์ได้ง่าย ซึ่งเมื่อวันนั้นมาถึง ระบบราชการ ชีวิตประจำวัน การค้าขาย จะสามารถจัดการได้ด้วยเครื่องจักร และ Berners ได้นิยามสิ่งนี้ไว้ว่า “เว็บเชิงความหมาย” (Semantic Web) 

ดร.เกวิน วู้ด (Gavin Wood) ผู้ร่วมก่อตั้งอีเธอเรียม (Ethereum) ได้เปรียบ Web3 ว่าเป็นเสมือนมหากฎบัตรแมกนา คาร์ต้า (Magna Carta) ของโลกอินเทอร์เน็ต (Magna Carta นั้นคือมหากฎบัตรแห่งเสรีภาพที่เป็นรากฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ ในช่วงยุคสมัยของพระเจ้าจอห์น) โดย Gavin Wood นั้นก็ต้องการที่จะพัฒนาแนวคิดของ Web3 ให้เป็นจริงขึ้นมา เขาจึงได้ก่อตั้ง Web3 Foundation ขึ้นมา เพื่อพัฒนาและส่งต่อความรู้เกี่ยวกับ Web3 ให้แก่คนทั่วไป เนื่องจากเขามองว่ารูปแบบของ Web 2.0 ที่เราใช้กันในปัจจุบันนั้นมันมีความเป็น Centralized และเป็นเหมือนมะเร็งร้าย เขาต้องการสร้างรูปแบบการใช้อินเทอร์เน็ตที่อาศัยความเชื่อใจน้อยลง และมีความจริงมากขึ้น (Less trust, More truth) 

Gavin Wood อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum และผู้ก่อตั้ง Web3 Foundation และ Polkadot ที่งาน TechCrunch Disrupt Berlin 2017 | ภาพจาก Wikipedia

Web 3.0 มันดียังไง.. ทำไมเราถึงต้องการมัน

ในบรรดาผู้ที่สนับสนุน Web3 มองว่ารูปแบบของ Web 2.0 นั้นมีความเป็น Centralized มากเกินไป เจ้าของเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่เป็นบริษัทหรือองค์กรทั้งหลายต่างเป็นผู้กำหนด และควบคุมทิศทางการดำเนินงานและพัฒนาของเว็บไซต์ โดยไม่ฟังความคิดเห็นของเหล่าผู้ใช้งานเลย

บริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Meta, Google หรือ Amazon ได้คอยเก็บข้อมูลที่เหล่าผู้ใช้งานอย่างเราๆ ได้สร้างขึ้น พวกเขารู้แทบจะทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเรา รู้ว่าเราชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เราอ่านอะไร เราซื้ออะไร เราคุยกับเพื่อนคนไหนบ่อยๆ และเอาข้อมูลเหล่านั้นไปคอยกำหนดทิศทางของแพลตฟอร์ม รวมไปถึงการเอาข้อมูลไปใช้สร้างรายได้ และเพิ่มความมั่งคั่งให้กับพวกเขาเอง โดยที่พวกเราไม่ได้รับอะไรตอบแทนเลย ไม่แม้กระทั่งความเป็นเจ้าของหรือสิทธิในการกำหนดแนวทางของเว็บไซต์ที่เราใช้งาน

ซึ่ง Web3 นั้นจะเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ โดยเป้าหมายของ Web3 คือ

  • Decentralized | ความไร้ศูนย์กลาง

แทนที่เราจะใช้งานเว็บไซต์ที่มีเจ้าของหรือผู้ควบคุมเป็นบริษัทขนาดใหญ่ Web3 ต้องการที่จะให้ผู้ใช้งานทุกคนนั้นเป็นเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ อย่างเท่าเทียมกัน

  • Permissionless | เข้าถึงได้อย่างอิสระ

ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ได้อย่างไร้ข้อจำกัด

  • Native Payment | ระบบการเงินบนเครือข่าย

Web3 ต้องการนำเสนอการใช้จ่ายผ่านสกุลเงินดิจิทัลของเว็บไซต์ และไม่ต้องไปพึ่งพาระบบการเงินของธนาคาร

  • Trustless | ใช้ความเชื่อใจน้อยลง

แทนที่ผู้ใช้งานอย่างเราจะไปคาดหวังความจริงจากผู้ให้บริการเว็บไซต์ต่างๆ Web3 นำเสนอสิ่งที่ดีกว่านั้น เพราะเราไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อใจใครเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้งานคนอื่น หรือว่าบริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าของเว็บไซต์ก็ตาม  เราเพียงแค่เชื่อในระบบตัวกลางที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว

การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเว็บตั้งแต่ Web 1 มาจนถึง Web 3

Web3 ส่งผลอย่างไรต่อโลกอินเทอร์เน็ต

เราจะเห็นได้ว่าเป้าหมายหลักของ Web3 คือความเป็น Decentralized ของเว็บไซต์ที่เราใช้งาน ซึ่งเป็นปัญหาของ Web 2.0 ในปัจจุบัน ที่บรรดาเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราใช้งานกัน ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Youtube หรือ Google ต่างมีเจ้าของเป็นบริษัทขนาดใหญ่ โดยข้อมูล (Data) ทั้งที่เป็นข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลที่ผู้ใช้ได้เป็นคนคิดค้นและเผยแพร่ขึ้นมา ได้ถูกจัดเก็บและนำไปใช้หาผลประโยชน์ และสร้างความมั่งคั่งให้กับบริษัทเจ้าของเว็บไซต์เหล่านั้น ซึ่งก็ทำให้เกิดปัญหาเรื่อง Trust ตามขึ้นมา โดยผู้ใช้ก็ทำได้แค่เชื่อใจว่าเจ้าของเว็บไซต์เหล่านั้น จะไม่เอาข้อมูลของเรา ไปใช้ในทางที่ไม่ดี

เมื่อ Web3 เกิดขึ้นจริง จะเป็นการคืนอำนาจความเป็นเจ้าของ และความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งาน ซึ่ง Web3 จะมาพร้อมกับ Native Token (สกุลเงินดั้งเดิมของแต่ละบล็อกเชนหรือแพลตฟอร์ม ผู้ใช้สามารถใช้ Token เหล่านี้ในการทำธุรกรรมภายในบล็อกเชนหรือแพลตฟอร์มนั้น ๆ ได้) ของแต่ละแพลตฟอร์ม โดย Token เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้งานมีอำนาจที่จะตัดสินใจได้ว่าข้อมูลของผู้ใช้งาน จะถูกนำไปใช้ที่ใด แบบใด และผลประโยชน์ทั้งหลายอันเกิดจากข้อมูลเหล่านั้นก็จะไม่ตกไปอยู่ในมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ แต่เพียงผู้เดียว แต่จะตกไปอยู่กับผู้ใช้งานทั้งหลายอันเป็นเจ้าของข้อมูลที่แท้จริง 

นอกจากนี้ Web3 ยังนำเสนอความ Trustless โดยผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสบายใจ โดยที่ไม่ต้องเชื่อใจใครเลย สิ่งนี้สามารถเป็นจริงได้ด้วยเทคโนโลยี Blockchain และ Smart Contract โดยเมื่อเอาสิ่งนี้มาใช้ เราก็สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เพราะ Smart Contract นั้นเปิดเผยเป็นสาธารณะ ใครก็สามารถเข้ามาดูได้ และมันแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ยากมาก ยากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

หาก Web3 นั้นสำเร็จขึ้นมา พวกเราเหล่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหลาย ก็จะสามารถท่องโลกออนไลน์แบบมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเจ้าของข้อมูลที่ตัวเองสร้างขึ้นมาได้อย่างแท้จริง สามารถนำข้อมูลที่สร้างขึ้นมาเองไปใช้ประโยชน์หรือหารายได้ได้ตามที่ตัวเองต้องการ รวมถึงสามารถร่วมกันกำหนดทิศทางของแพลตฟอร์มที่ตัวเองใช้งานได้อีกด้วย ในอนาคตถ้าหากว่า Web3 สามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ บรรดาผู้ใช้งานอย่างเราๆ จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล

การมาของ Web 3.0 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบนโลกออนไลน์อย่างไร?

ลองนึกถึงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบของธนาคารในปัจจุบัน ก่อนที่เราจะทำธุรกรรมกับธนาคารได้ เราจำเป็นที่จะต้องทำการยืนยันตัวตน แต่ไม่ใช่กับการทำธุรกรรมบนโลก Web3 ซึ่งโลกการเงินบน Web3 นั้นเราเรียกว่า Decentralized Finance (Defi) เวลาเราจะทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ ขอเพียงแค่เรามีอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถทำได้ผ่าน dApps (Decentralized Application) ได้เลย ไม่จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนหรือการยื่นหลักฐานทางการเงินใดๆ นี้แหละคือการเงินไร้พรมแดนอย่างแท้จริง โดยมีบรรดา dApps ที่เกี่ยวกับการเงิน หรือที่เรียกว่า Decentralized Exchanges (DEX) เช่น Uniswap, Sushiswap หรือ Pancakeswap เป็นต้น

ในเดือน กรกฎาคม 2022 ตามรายงานของ Dune Analytics พบว่ามีจำนวนผู้ใช้งาน DeFi ทั้งหมดกว่า 4.8 ล้านราย  ซึ่งถ้านับจากต้นปี 2022 จำนวนผู้ใช้ DeFi นั้นเพิ่มขึ้นกว่ากว่า 500,000 ราย และในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2022) มีมูลค่าสินทรัพย์ที่อยู่บน DEX (Total Value Locked : TVL) รวมกันกว่า 1.5 แสนล้านบาท (4,215 ล้านเหรียญ) ซึ่ง TVL รวมทั้งหมด เคยแตะจุดสูงสุดที่ 3.9 ล้านล้านบาท (107,000 ล้านเหรียญ) เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 ที่ผ่านมา

กราฟแสดงจำนวนและอัตราการเติบโตของผู้ใช้งาน DeFi นับตั้งแต่ธันวาคม 2017 ถึง กรกฎาคม 2022 แหล่งข้อมูล | Statista

ในอุตสาหกรรมสื่อ บรรดาเว็บไซต์สตรีมมิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Youtube, Spotify หรือ Apple Music ต่างก็คิดส่วนแบ่งจากบรรดาศิลปินทั้งหลาย โดยในบางครั้งส่วนแบ่งเหล่านี้ก็ไม่เป็นธรรมกับบรรดาผู้สร้างเนื้อหา นอกจากนี้บรรดาเว็บไซต์ก็ยังสอดแทรกโฆษณาเข้ามาเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมอีก 

ในขณะที่บน Web3 นั้นผู้สร้างเนื้อหาสามารถที่จะได้รับรายได้เกือบ 100% ที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งให้กับผู้ให้บริการตัวกลางแต่อย่างไร จะมีก็เพียงแต่ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นเล็กน้อย ที่ถูกหักไปเพื่อให้ระบบนิเวศยังคงทำงานและพัฒนาต่อไปได้

ยกตัวอย่างเช่น dApps สำหรับสตรีมมิ่งอย่าง Audius โดยรายได้กว่า 90% ของ dApps นั้นจะถูกจ่ายให้กับเหล่าศิลปินที่เป็นผู้สร้างเนื้อหา ซึ่งศิลปินจะได้รับรายได้เป็นเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีของทางแพลตฟอร์มที่มืชื่อว่า $AUDIO

ถึงแม้ว่า Web3 จะยังคงเป็นเรื่องใหม่อยู่ในขณะนี้ และเราอาจจะต้องใช้เวลารอกันไปอีกหลายปี จนกว่าที่ Web3 จะบรรลุเป้าหมายของมัน แต่เมื่อเราลองมองดูดีๆ สถานการณ์ในตอนนี้ของ Web3 นั้นก็คล้ายกับช่วงที่เว็บไซต์โซเชี่ยลมีเดียได้เกิดขึ้นมา และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัย Web 2.0

กราฟแสดงอัตราผู้ใช้งาน Web3 เปรียบเทียบกับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต แหล่งข้อมูล | Cointelegraph

จนกว่าวันนั้นจะมาถึง คุณพร้อมแล้วหรือยัง สำหรับยุคสมัยใหม่ของการใช้อินเทอร์เน็ตและท่องเว็บไซต์…

References: Ethereum, Investopedia(1), Investopedia(2), Znetlive, Medium, Messari, Equalexperts, Makeuseof, 10clouds, npr, Freecodecamp, CNBC, Wired, Gavofyork, Weforum, Cryptoslate, Globenewswire, Statista


Credits
Content Creator : สิรภพ วรมิศร์
Graphic Designer : ศุภัชฌา ใช้สติ, ทัตพงศ์ มังคละกุล
Admin : ณิชากร วิทยาวิวัฒน์สกุล  
Editor : ประเสริฐ หงษ์สุวรรณ
Enter to Start Team
Enter to Start Teamhttps://entertostart.co
ทีมคนสร้างสื่อที่ตั้งใจจะสร้างพื้นที่แห่งการแบ่งปันข้อมูลในโลกธุรกิจ การลงทุน และคริปโต เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ผ่านคอนเทนต์ที่ย่อยง่าย เข้าใจได้ไม่ยาก

เรื่องยอดนิยมวันนี้

เรื่องยอดนิยม 7 วัน

เรื่องยอดนิยมวันนี้ | POPPULAR TODAY

เรื่องยอดนิยม 7 วัน | POPPULAR IN 7 DAYS

คนกำลัง Hype! เหรียญกลุ่ม AI บวกกระจายหลัง OpenAI เปิดตัว Sora

เหรียญในกลุ่ม AI ต่างราคาเพิ่มขึ้นในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยเฉพาะ SingularityNET (AGIX) กับ Worldcoin (WLD) ต่างปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับเลขสองหลัก หลัง OpenAI เปิดตัว Sora AI สร้างวิดีโอจากข้อความ (text-to-video) เหรียญในกลุ่ม AI ได้รับแรงหนุนจากความตื่นเต้นเกี่ยวกับการเปิดตัว Sora ซึ่งเป็น AI...

บริษัทในสหรัฐฯ เริ่มหันไปจ้างพนักงานชั่วคราวมากขึ้น เหตุกังวลเศรษฐกิจถดถอย

พบว่ามีการจ้างพนักงานแบบชั่วคราวเพิ่มขึ้น 28% ตั้งแต่โควิดระบาด ทั้งนี้เกิดจากกังวลเศรษฐกิจถดถอย และสู้ราคาค่าจ้างไม่ไหว

Tether กล่าวว่าบทความที่ระบุว่าบริษัทเสี่ยงต่อการล้มละลายของ Wall Street Journal นั้นใช้ข้อมูลเท็จ และไม่เป็นความจริง

Tether ระบุว่าบทความของ WSJ มีเป้าหมายในการโจมตีและเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับจำนวนทุนสำรองและผลกำไรของ Tether

Trump บุก Ordinals ขาย Mugshot NFT ชุดพิเศษ แต่ติดห้ามขาย 1 ปี!

อดีตประธานาธิบดี Donald Trump แห่งสหรัฐ เตรียมขาย NFT ชุดพิเศษบน Bitcoin Ordinals ที่ราคาขั้นต่ำ 9,900 ดอลลาร์ และผู้ซื้อจะไม่สามารถเทรดได้จนถึงเดือนธันวาคม 2024 CollectTrumpCards ทีมงานคอลเลกชัน NFT ของ Trump ประกาศทาง X (twitter เดิม) ว่า ใครก็ตามที่ซื้อ...

สาวก NFT ถูกใจสิ่งนี้ Meta ประกาศเตรียมปล่อยฟังก์ชั่นให้เหล่าครีเอเตอร์สร้าง NFT บน Instagram ได้

Instagram เตรียมเปิดฟังก์ชั่นสร้างและซื้อขาย NFT ทำงานบนเชน Polygon ช่วงแรกจะยังไม่เก็บค่าธรรมเนียม

ทำความรู้จัก Notcoin (NOT) เหรียญบน Telegram ที่จิ้มแล้วได้เงิน

Notcoin (NOT) เริ่มจากเกมบน Telegram ที่สร้างโดย Open Builder ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปรู้จักกับโลก Web3 ผ่านกลไกการขุดเหรียญแบบ tap-to-earn (จิ้มหน้าจอแล้วได้เงิน) ด้วยวิธีการเล่นและได้เงินที่ง่ายแสนง่าย ทำให้มียอดผู้เล่นกว่า 35 ล้านราย และยอด active user 6 ล้านราย ต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวทำให้ Notcoin จัดเป็นหนึ่งในเกมคริปโตที่เป็นที่นิยมมากที่สุด...

Arkham Intelligence เผยมีผู้ได้รับ airdrop Ethena มูลค่าเกือบ 2 ล้านดอลลาร์

พบผู้โชคดีได้รับ airdrop จาก Ethena Labs มูลค่าเกือบ 2 ล้านดอลลาร์ จากการแจก Ethena (ENA) เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา Arkham Intelligence ระบุว่า ผู้โชคดีดังกล่าวเป็นเจ้าของกระเป๋า 0xb56 ได้รับ 3.3 ล้าน Ethena คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.96...

Dogecoin เป็นของ Elon Musk? เปิดประวัติผู้สร้าง Dogecoin ตัวจริง

Dogecoin สุดยอดเหรียญมีมที่ทุกคนในโลกคริปโตต่างรู้จัก และน่าจะเป็นเหรียญมีมที่โด่งดังที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้สนใจในคริปโต Dogecoin เคยช่วยพลิกสถานะทางการเงินของหลายคน ทำให้หลายคนร่ำรวยขึ้นมา เพียงแต่ผู้ที่สร้างเหรียญนี้กลับไม่ได้รับอะไรเช่นนั้นเลย เพราะอะไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เรามาหาคำตอบกัน

Wormhole เผยรายละเอียด Tokenomic กลุ่มไหนได้เท่าไหร่ดูได้ที่โพสต์นี้

Web3 มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมอินเทอร์เน็ตที่โปร่งใส trustless เปิดกว้าง และปลอดภัย วิสัยทัศน์นี้พึ่งพา ecosystem ที่ปลอดภัยและเชื่อมต่อกันอย่างราบรื่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ Web3 ecosystem ต้องการโปรโตคอลการส่งข้อความพื้นฐานที่ปลอดภัย decentralized ลดการ trust ลงให้น้อยที่สุด และเป็นโอเพ่นซอร์ส เมื่อ 3 ปีที่แล้ว Wormhole (@wormholecrypto) เปิดตัวโปรโตคอลการส่งข้อความทั่วไปตัวแรกที่เชื่อมต่อกับ Ethereum...

Richard Teng เผยเส้นทางจากการกำกับดูแลสายการเงินสู่ซีอีโอ Binance

เมื่อคืนที่ผ่านมา คุณ Richard Teng ซีอีโอของ Binance ได้ออกมาพูดถึงเรื่องราวการเดินทางจากสายการเงินแบบดั้งเดิมสู่โลก Web3 ใน Ask Me Anything โดย CoinMarketCap คุณ Richard ระบุว่า ตัวเค้ามาจากสายการเงินแบบดั้งเดิมและทำหน้าที่ในหน่วยงานกำกับดูแลเป็นส่วนใหญ่ แต่จุดเปลี่ยนก็มาถึงในปี 2017 ที่เค้าเดินทางไปสัมมนาในสหรัฐและได้เจอกับคนในวงการคริปโตมากมาย ซึ่งนั่นสร้างความสนใจให้กับเขา เพราะในมุมมองของคุณ Richard นั้น...

คึกคักสุด ๆ! ปริมาณซื้อขาย Spot Bitcoin ETF วันแรก พุ่งทะลุ 4.5 พันล้านดอลลาร์

Cointelegraph รายงานว่า ปริมาณการซื้อขาย Spot Bitcoin ETF ในวันแรกพุ่งทะลุ 4.5 พันล้านดอลลาร์ โดย ETF ของ BlackRock, Grayscale และ Fidelity มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด ขณะเดียวกัน ETF ของ Hashdex ยังไม่สามารถซื้อขายได้เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ของสหรัฐยังไม่ได้อนุมัติแบบฟอร์ม...

บทความที่เกี่ยวข้อง | RELATED ARTICLE

ถอดรหัสแท่งเทียนยอดนิยมบนโลกคริปโต

แท่งเทียน (Candlestick) เป็นหนึ่งในวิธีการสร้างแผนภูมิที่เกิดขึ้นครั้งแรกในญี่ปุ่นในช่วงศตวรรษที่ 18 ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือแสดงความผันผวนของราคาของสินทรัพย์ ปัจจุบัน ตัวเลขเหล่านี้มีความสำคัญสำหรับนักลงทุนในทุกตลาด ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ทองคำ พันธบัตร รวมไปถึงสกุลเงินดิจิทัล ช่วยให้พวกเขาสามารถกลั่นกรองข้อมูลราคาในอดีตเพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวที่เป็นไปได้ในอนาคต

คึกคักสุด ๆ! ปริมาณซื้อขาย Spot Bitcoin ETF วันแรก พุ่งทะลุ 4.5 พันล้านดอลลาร์

Cointelegraph รายงานว่า ปริมาณการซื้อขาย Spot Bitcoin ETF ในวันแรกพุ่งทะลุ 4.5 พันล้านดอลลาร์ โดย ETF ของ BlackRock, Grayscale และ Fidelity มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด ขณะเดียวกัน ETF ของ Hashdex ยังไม่สามารถซื้อขายได้เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ของสหรัฐยังไม่ได้อนุมัติแบบฟอร์ม...

“ตลาดหมี” เรานักลงทุนควรทำอะไร

KEY TAKEAWAYS ตลาดหมีคือสภาวะตลาดที่ราคาสินทรัพย์บางตัวหรือบางกลุ่ม เช่น คริปโต ร่วงลงมากกว่า 20% จากจุดสูงสุด เกิดได้จากหลายปัจจัย อย่า panic sell มองเป้าหมายระยะยาว ทบทวนจุดประสงค์การลงทุนของตนเอง ศึกษาจากความผิดพลาด หมั่นหาความรู้เพิ่มเติม ถ้าเหนื่อยล้าก็ปิดจอแล้วออกไปทำอย่างอื่น อย่าหมกมุ่นอยู่กับพอร์ตที่ติดลบ "ตลาดหมี" เรานักลงทุนควรทำอะไร  ในช่วงภาวะตลาดหมีใน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนมักจะเป็นลบ และเต็มไปด้วยความหวาดกลัว ความไม่แน่นอน และความสงสัย (FUD) บทความนี้มีเป้าหมายที่จะให้แนวทางที่ครอบคลุมว่าจะควรทำตัวอย่างไรในช่วงเวลาดังกล่าว ทำความเข้าใจตลาดหมีกันก่อน ตลาดหมีคือสภาวะตลาดที่ราคาสินทรัพย์บางตัวหรือบางกลุ่ม เช่น คริปโต ร่วงลงมากกว่า...

‘AI Token’ ผสานทั้ง Blockchain และ AI น่าสนใจหรือไม่ โปรเจกต์ไหนที่น่าจับตามอง

มาทำความรู้จัก AI Token เทคโนโลยีที่ผสมทั้ง AI และบล็อกเชน มันน่าสนใจและสามารถกลายมาเป็นอนาคตของเราได้หรือไม่

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ NFT จากความสนใจเฉพาะกลุ่มสู่กระแสหลักของโลกดิจิทัล

NFT กลายเป็นของสะสมดิจิทัลที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แล้วมันมีจุดเริ่มต้นจากไหน เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ หาคำตอบได้ในบทความนี้

FinTech Festival Asia (FTF) 2023: งาน FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียเปิดจำหน่ายบัตรแล้ว

FinTech Festival Asia (FTF) 2023 หนึ่งในงาน FinTech  ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จะได้พบกับข้อมูลในอุตสาหกรรม FinTech ที่มีการพัฒนาตลอดเวลา และนำเสนอเทรนด์รวมถึงนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่จะกำหนดภูมิทัศน์ทางการเงินในอนาคต งานนี้จะครอบคลุมโซลูชัน FinTech มากมาย เช่น การธนาคารดิจิทัล การชำระเงิน เทคโนโลยีประกันภัย บริการวางแผนการลงทุนแบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Web3 บล็อกเชน...

ทำความรู้จัก zkLink โปรเจค multi-chain trading ที่เชื่อม L1 และ L2 ที่จะมาเปลี่ยนเกมของ DeFi

🚀 ทำความรู้จักกับโลกของ #zkLink! 🌐 แพลตฟอร์มบุกเบิกนิยามใหม่ของการซื้อขายแบบ decentralized โดยการเชื่อมโยง blockchain network ต่างๆเข้าด้วยกัน และนี่คือโปรเจคที่จะเปลี่ยนโลกของ #DeFi

ข่าวที่เกี่ยวข้อง | RELATED NEWS

JPMorgan ปรับเพิ่มราคาประเมินต้นทุนขุด Bitcoin เป็น 45,000 ดอลลาร์

JPMorgan ปรับเพิ่มราคาประเมินต้นทุนการขุด Bitcoin จากเดิม 42,000 ดอลลาร์ ต่อ Bitcoin เป็น 45,000 ดอลลาร์ ต่อ Bitcoin เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ hashrate ในการขุด Bitcoin ทีมนักวิเคราะห์ของ JPMorgan นำโดย Nikolaos Panigirtzoglou ระบุว่า “ก่อนหน้านี้เราคาดว่า hashrate...

ทำความรู้จัก Notcoin (NOT) เหรียญบน Telegram ที่จิ้มแล้วได้เงิน

Notcoin (NOT) เริ่มจากเกมบน Telegram ที่สร้างโดย Open Builder ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปรู้จักกับโลก Web3 ผ่านกลไกการขุดเหรียญแบบ tap-to-earn (จิ้มหน้าจอแล้วได้เงิน) ด้วยวิธีการเล่นและได้เงินที่ง่ายแสนง่าย ทำให้มียอดผู้เล่นกว่า 35 ล้านราย และยอด active user 6 ล้านราย ต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวทำให้ Notcoin จัดเป็นหนึ่งในเกมคริปโตที่เป็นที่นิยมมากที่สุด...

นวัตกรรมเปลี่ยนโลก! ChatGPT อัปเกรดล่าสุด สามารถตอบโต้ด้วยภาพและเสียงได้แล้ว!!!

OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT ประกาศอัปเกรดล่าสุด GPT-4o ซึ่งมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ช่างพูดคุยมากขึ้น รวมถึงสามารถโต้ตอบภาพและวิดีโอของผู้ใช้ได้แบบเรียลไทม์ OpenAI ปล่อยวิดีโอตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นความสามารถของ GPT-4o เช่น ช่วยเตรียมตัวสัมภาษณ์, ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าเพื่อขอเปลี่ยน iPhone, เล่น dad joke (คล้ายมุกแป้กของไทย), แปลบทสนทนาแบบเรียลไทม์, เป็นกรรมการตัดสินเป่ายิ้งฉุบ รวมถึงเหน็บแนมได้ด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นปฏิกิริยาของ ChatGPT...

JPMorgan ปรับเพิ่มราคาประเมินต้นทุนขุด Bitcoin เป็น 45,000 ดอลลาร์

JPMorgan ปรับเพิ่มราคาประเมินต้นทุนการขุด Bitcoin จากเดิม 42,000 ดอลลาร์ ต่อ Bitcoin เป็น 45,000 ดอลลาร์ ต่อ Bitcoin เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของ hashrate ในการขุด Bitcoin ทีมนักวิเคราะห์ของ JPMorgan นำโดย Nikolaos Panigirtzoglou ระบุว่า “ก่อนหน้านี้เราคาดว่า hashrate...

ทำความรู้จัก Notcoin (NOT) เหรียญบน Telegram ที่จิ้มแล้วได้เงิน

Notcoin (NOT) เริ่มจากเกมบน Telegram ที่สร้างโดย Open Builder ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปรู้จักกับโลก Web3 ผ่านกลไกการขุดเหรียญแบบ tap-to-earn (จิ้มหน้าจอแล้วได้เงิน) ด้วยวิธีการเล่นและได้เงินที่ง่ายแสนง่าย ทำให้มียอดผู้เล่นกว่า 35 ล้านราย และยอด active user 6 ล้านราย ต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวทำให้ Notcoin จัดเป็นหนึ่งในเกมคริปโตที่เป็นที่นิยมมากที่สุด...

นวัตกรรมเปลี่ยนโลก! ChatGPT อัปเกรดล่าสุด สามารถตอบโต้ด้วยภาพและเสียงได้แล้ว!!!

OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT ประกาศอัปเกรดล่าสุด GPT-4o ซึ่งมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ช่างพูดคุยมากขึ้น รวมถึงสามารถโต้ตอบภาพและวิดีโอของผู้ใช้ได้แบบเรียลไทม์ OpenAI ปล่อยวิดีโอตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นความสามารถของ GPT-4o เช่น ช่วยเตรียมตัวสัมภาษณ์, ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าเพื่อขอเปลี่ยน iPhone, เล่น dad joke (คล้ายมุกแป้กของไทย), แปลบทสนทนาแบบเรียลไทม์, เป็นกรรมการตัดสินเป่ายิ้งฉุบ รวมถึงเหน็บแนมได้ด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นปฏิกิริยาของ ChatGPT...

ก็น่ารักอะ! Pudgy Penguins ประกาศยอดขายตุ๊กตา ไม่ถึงปีทะลุ 1 ล้านตัวแล้ว

Pudgy Penguins หนึ่งในสิบ NFT collection ที่มีปริมาณซื้อขายสูงสุด ประกาศว่าสามารถขายตุ๊กตาของเล่นไปได้กว่า 1 ล้านตัว ผ่านช่องทางค้าปลีกต่างๆ Luca Netz ซีอีโอของ Pudgy Penguins ประกาศในวิดีโอผ่านทาง X (ทวิตเตอร์เดิม) ว่า ตุ๊กตาของเล่นมียอดขายกว่า 1 ล้านตัวแล้วในเวลาเพียงไม่ถึง 1 ปี พร้อมแย้มว่าจะมีการร่วมมือกับผู้ค้าปลีกรายอื่นๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

Save Settings